กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2557 – บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสนับสนุนกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพไอทีในประเทศไทยให้หันมาใช้บริการสนับสนุนและฟีเจอร์ต่างๆ ผ่าน “ไมโครซอฟท์ อาชัวร์” เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเตรียมความพร้อมเข้าสู่ดิจิทัลอิโคโนมีและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ คือ บริการคลาวด์ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ และยังเป็นบริการคลาวด์แพลตฟอร์มเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการจัดอันดับโดยการ์ทเนอร์ ให้เป็นผู้นำด้านบริการด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (infrastructure-as-a-service – IaaS) และบริการด้านแพลตฟอร์ม (platform-as-a-service – PaaS) นอกจากนี้ จากผลสำรวจล่าสุดโดยสถาบันไอเอ็มซี ประเทศไทย ว่าด้วยความพร้อมด้านคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยปี 2557 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ จัดเป็นบริการคลาวด์อันดับต้นๆ ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานในประเทศไทย
Noonswoon November 11, 2014 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เสริมศักยภาพสตาร์ทอัพไทย เตรียมความพร้อมสู่ดิจิทัลอิโคโนมีและเออีซี (ในภาพจากซ้ายไปขวา) นายกวิน อัศวานันท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นูนสวูน จำกัด นางสาวสุชาลักษณ์ สรณานุสรณ์ ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจสินค้าคลาวด์และเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด นายธีรานิตย์ พงค์ทองเมือง รองประธานฝ่ายวิศวกรรม บริษัท นูนสวูน จำกัด และ นายเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด |
Downloads: |
See Also: noonswoon |
นาง
สาว
สุชาลักษณ์ สรณานุสรณ์ ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจสินค้าคลาวด์และเอ็นเตอร์ไพรส์ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึง ได้มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตของธุรกิจทางด้านไอทีจะช่วยผลักดันให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในอุตสาหกรรม และจากรายงานของไอดีซี ในปี 2558 ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยน่าจะมีมูลค่าเติบโตเกินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 22,400 ล้านบาท) ไมโครซอฟท์ในฐานะที่เป็นผู้นำในด้านโซลูชั่นและบริการสำหรับองค์กร มีความพร้อมเต็มที่ในการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพด้านไอทีในประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ดิจิทัลอิโคโนมี
ไมโครซอฟท์ได้ริเริ่มโครงการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อิเมจิ้น คัพ (Imagine Cup) และ ดรีม สปาร์ค (DreamSpark) สำหรับการสนับสนุนกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ไปจนถึง บิซสปาร์ค (BizSpark) และ บิซสปาร์ค พลัส (BizSpark Plus) สำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพหน้าใหม่ ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญในการให้การสนับสนุนการสร้างและก่อให้เกิดการเติบโตของสตาร์ตอัพ อีโคซิสเต็ม ในประเทศไทย แบบองค์รวม ”
นับแต่การเปิดตัวในปี 2553 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ มีอัตราการเติบโตอย่างน้อย 3 เท่า เร็วกว่าอัตราการเติบโตของตลาดการให้บริการคลาวด์ IaaS และ PaaS ในเอเชียแปซิฟิก สำหรับประเทศไทย ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เติบโตขึ้นสองเท่าจากจำนวนผู้ใช้บริการ 1,200 รายในเดือนธันวาคม 2556 มาเป็น 2,600 รายในปัจจุบัน ซึ่งได้ช่วยเสริมศักยภาพให้กับสตาร์ทอัพน้องใหม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ในตลาดได้
ประโยชน์หลักที่จะได้รับจากการใช้งาน ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ประกอบด้วย:
-
การปรับเลือกขนาดได้ (Scalability) เพื่อการเติบโตทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
-
ความคุ้มค่าในการลงทุน
-
การรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในระดับที่สูง
-
ความเสถียรของระบบ ด้วยค่าอัพไทม์ขั้นต่ำที่ 99.95 เปอร์เซ็นต์
-
ความสามารถในการบริหารจัดการที่ดี
-
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ สนับสนุนเทคโนโลยีทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น โอเพ่นซอร์ซหรือเทคโนโลยีจากไมโครซอฟท์ นักธุรกิจสตาร์ทอัพและนักพัฒนาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการสร้าง ติดตั้ง และบริหารจัดการ แอพลลิเคชั่น ในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการ
-
อาชัวร์ มาร์เก็ตเพลส (Azure Marketplace) ฟีเจอร์ใหม่สำหรับสตาร์ทอัพและนักพัฒนา ที่ช่วยสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงผู้ประกอบการ และผู้ใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ จากที่ต่างๆ ทั่วโลก เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนและนำเสนอนวัตกรรมต่างๆ ของเหล่าสตาร์ทอัพ ให้เป็นที่รู้จักในตลาด
ปัจจุบัน มีธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยที่ใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ อาทิ
–บริษัท อุ๊คบี จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอลบนโปรแกรมที่ชื่อ อุ๊คบี (Ookbee) บนระบบคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาชัวร์
–บริษัท บิลค์ ดอทคอม (Builk.com) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการระบบการบริหารจัดการระยะเวลา ต้นทุน และคุณภาพ สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง
-บริษัท
บัซ
ซี่
บีส์
จำกัด (
Buzzebees
) ผู้นำด้านโซเซียล พรีวิเลจ แพลตฟอร์ม ในประเทศไทย ซึ่งกำลังขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
–
บริษัท อี
คาร์ทสตูดิโอ
จำกัด
(
Ecartstudio
) ผู้นำด้านการพัฒนา location-based information systems ในประเทศไทย
–
บริษัท
ซีแมน
ติก
ทัช
จำกัด
(
Semantic Touch
) บริษัทซอฟท์แวร์ผู้สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์มาร์เก็ตติ้งสำหรับเอสเอ็มอี ในปี 2555 บริษัทได้เริ่มพัฒนาเครื่องมือการทำตลาด อี-คอมเมิร์ซ ที่มีชื่อว่า เบนโตะเว็บ (BentoWeb) ที่ช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีในการเริ่มต้นสร้างร้านค้าออนไลน์และบนเฟซบุ๊ค
–
บริษัท
นูน
สวูน
จำกัด
(
Noonswoon
)
สตาร์ทอัพไทยน้องใหม่มาแรง ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นหาคู่สำหรับคนโสด โดยแอพพลิเคชั่นนูนสวูนจะแนะนำคู่ที่เหมาะสมให้กับสมาชิก ได้ประทับใจ ทุกวัน เวลาเที่ยงตรง ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 100,000 คน ทั่วภูมิภาคเอเชีย
“ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนสูงถึง 49 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสมหาศาลสำหรับสตาร์ทอัพในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ” นายกวิน อัศวานันท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นูนสวูน จำกัด กล่าว “ในขณะที่วงการสตาร์ทอัพในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก ความท้าทายในการประสบความสำเร็จของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ คือ การขาดแคลนเงินทุนและโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ที่ยัง ไม่มั่นคงและน่าเชื่อถือมากพอ
หลังจากที่นูนสวูนได้รับรางวัลชนะเลิศ เอไอเอส เดอะ สตาร์ทอัพ ในปี 2556 เราได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ ด้วยการให้ใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผ่านโครงการ บิซสปาร์ค พลัส ที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้นูนสวูนประสบความสำเร็จในวันนี้ คือ คุณสมบัติที่โดดเด่นของไมโครซอฟท์อาชัวร์ ในเรื่องความเสถียรและการปรับเลือกขนาดได้ ที่ทำให้แอพพลิเคชั่นนูนสวูนมีความเสถียร และเรายังสามารถติดตั้งแอพบนแพลตฟอร์มที่เราเลือกใช้ได้ ความสามารถในการจัดการกับการใช้งานจำนวนมหาศาลในบางช่วงเวลาเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความสำเร็จของ นูนสวูน ซึ่งไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ทำให้เราจัดการกับเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับสมาชิกที่เข้ามาใช้งาน” นายกวิน กล่าวเสริม
เพื่อเป็นการช่วยเหลือสตาร์ทอัพในการเริ่มต้นธุรกิจ ไมโครซอฟท์ ได้ให้การสนับสนุนผ่านโครงการบิซสปาร์ค โครงการของไมโครซอฟท์ที่สนับสนุนซอฟต์แวร์ฟรี การให้ความช่วยเหลือต่างๆ รวมไปถึงการช่วยสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จักในตลาด ซึ่งมีสตาร์ทอัพจำนวนกว่า 100,000 ราย จากมากกว่า 165 ประเทศทั่วโลก และมากกว่า 300 รายในประเทศไทย ที่เข้าร่วมโครงการบิซสปาร์ค โครงการนี้ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์และการสนับสนุนต่างๆ ฟรีเป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งยังช่วยสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จัก
สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการบิซสปาร์คจะสามารถใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ได้ฟรี ที่มูลค่า 300,000 บาทต่อปี ในขณะที่สตาร์ทอัพในโครงการบิซสปาร์ค พลัส สามารถใช้งานได้ถึง 2 ล้านบาท ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ หยิบยื่นเทคโนโลยีและบริการคลาวด์ระดับองค์กรสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับสตาร์ทอัพในการแข่งขันและสร้างสรรค์นวัตกรรมในมาตรฐานที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากการช่วยลดความต้องการทางด้านเงินทุนแล้ว อาชัวร์ยังนำเสนอทางเลือกให้กับธุรกิจทั้งในแบบ IaaS และ PaaS ด้วยข้อเสนอที่มีความยืดหยุ่น มาพร้อมระบบที่มีเสถียรภาพสูง และยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดย ไมโครซอฟท์ นับเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวที่ได้รับการรับรองจากองค์กรด้านการปกป้องข้อมูลใน 28 ประเทศทั่วยุโรป และยังเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศจีน
ไมโครซอฟท์ อาชัวร์
เปิดกว้างและสนับสนุนสำหรับทุกเทคโนโลยี
“ด้วยไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เราได้นำเสนอบริการคลาวด์ที่เปิดกว้าง ไม่จำกัด และมีความยืดหยุ่น ให้กับนักพัฒนาสามารถเริ่มต้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่คุ้นเคย และใช้ทักษะที่ถนัด นักพัฒนาจะได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมและการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ เรายังเปิดรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นบนความหลากหลายของแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น ภาษา Java และ .Net ที่เป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักพัฒนาแอพสำหรับองค์กร แต่ขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้งาน PHP Python และภาษาอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ สนับสนุนภาษาเหล่านี้และภาษาอื่นๆ อีกมากมาย และจากการประกาศล่าสุดของซีอีโอไมโครซอฟท์การสนับสนุนการทำงานบน CoreOS Linux ซึ่งนับเป็นการสนับสนุนครั้งที่ 5 ของลีนุกซ์บนอาชัวร์ต่อจาก CentOS, Oracle Linux, Suse, และ Ubuntu ปัจจุบันกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานอาชัวร์ ล้วนทำงานอยู่บนลีนุกซ์” นางสาวสุชาลักษณ์ กล่าวสรุป
ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อทดลองใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ฟรี เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนได้ที่นี่ http://azure.microsoft.com/en-us/pricing/free-trial/ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ บนอาชัวร์ได้จำนวนถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6,400 บาท) สำหรับนักธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการไมโครซอฟท์ บิซสปาร์ค และ บิซสปาร์ค พลัส สามารถติดต่อคุณเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ที่ อีเมล์ [email protected]
###
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
(
สำหรับสื่อมวลชน
)
:
คุณพรรวี สุรมูล และ คุณวิชยากร จารุบัณฑิต
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์
ประเทศไทย
โทรศัพท์
: 02-627 3501 ต่อ 110, 105 หรือ 081 735 9213, 086 505 9010
อีเมล
: [email protected], [email protected]