รางวัลแด่ 10 คุณครูไทยผู้มีผลงานดีเด่นในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการสอนใน Thailand Innovative Teachers Leadership Awards 2016
กรุงเทพฯ 14 มีนาคม 2559 – บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประกาศผลครูหัวใจไอที ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันการนำเสนอผลงานวิชาการ Thailand Innovative Teachers Leadership Awards 2016 (ไทยแลนด์ อินโนเวทีฟ ทีชเชอร์ ลีดเดอร์ชิพ อวอร์ด 2016) โดยในปีนี้มีครู 10 ท่าน จากครูทั้งสิ้น 4,800 ท่านทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือกด้วยผลงานอันโดดเด่นในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรม Thailand Innovative Teachers Leadership Awards 2016 ในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 12 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพาร์ทเนอร์ อิน เลิร์นนิ่ง (Partners in Learning) ริเริ่มโดย บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ได้ร่วมมือกับภาคการศึกษาทั่วโลกในการสร้างเครือข่ายและชุมชนครูที่เข้มแข็ง เพื่อพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนทั่วโลก
ที่ผ่านมาได้มีผลสำรวจของไมโครซอฟท์กับครูจำนวน 200 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าครูทั้งหมดเห็นพ้องว่าเทคโนโลยีจะเป็นตัวแปรสำคัญในการปฏิรูปและพัฒนาการระบบศึกษาในอนาคต และครูเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 96) ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว และร้อยละ 95 เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในการปฏิรูปการศึกษาและการสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเรียนผ่านสื่อการเรียนการสอน โดยมองว่าเทคโนโลยีสามารถยกระดับการเรียนรู้ พัฒนาประสิทธิภาพในการสอนของตัวคุณครูเองและช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการสื่อสารกับนักเรียน
“ครูผู้สอนตระหนักว่าเทคโนโลยีมีพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงการศึกษาและช่วยให้เยาวชนเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนหลายท่านมีแนวทางการสอนที่สร้างสรรค์และน่าประทับใจผ่านเทคโนโลยี ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ที่เรียนได้ทั้งในและนอกห้องเรียน สำหรับผมครูเปรียบเหมือนยอดมนุษย์ที่มุ่งมั่นทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ โดยพยายามหาทางฉีกกรอบการเรียนการสอนแบบเดิมๆ สร้างสรรค์เนื้อหาผนวกกับสื่อทางเทคโนโลยี เพื่อนักเรียนได้รับประโยชน์มากที่สุด” นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าว
อย่างไรก็ดี การสำรวจในครั้งนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงหลายสิ่งที่ท้าทายของครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคุณครูให้ความเห็นว่าอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนคือ 1) การขาดการฝึกอบรมที่เหมาะสมและเพียงพอ (ร้อยละ 53) 2) การขาดเงินทุน (ร้อยละ 51) และ 3) การขาดการผสมผสานที่ดีพอระหว่างเทคโนโลยีและบทเรียน (ร้อยละ 46) ซึ่งความท้าทายทั้ง 3 ประการนี้ เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดความพยายามในการเข้าถึงการศึกษาและเทคโนโลยีแบบองค์รวม และการสำรวจยังพบอีกว่าครูต้องการเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับการสอนคือ 1) การสร้างบทเรียนหรือเนื้อหาที่ออกแบบสำหรับตัวบุคคลโดยเฉพาะ (ร้อยละ 57) 2) มีเทคโนโลยีที่ทำให้นักเรียนคล้อยตามและสนุกขึ้น (ร้อยละ 56) และ 3) บริการอันชาญฉลาดที่ช่วยบริหารจัดการการเรียนการสอนในชั้นเรียน (ร้อยละ 46)
ด้วยเหตุนี้ กิจกรรม Thailand Innovative Teachers Leadership Awards 2016 จึงมีจุดมุ่งหมายในการกระตุ้นให้ครูทุกระดับชั้น ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการสอนด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยคุณครูภูมิพัฒน์ วนพิพัฒน์พงศ์ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 1 ใน 10 ครูผู้ได้รับรางวัล กล่าวว่า “ในโครงการ Partners in Learning ไมโครซอฟท์ได้มีการอบรมคุณครูให้รู้จักเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการใช้งานและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน อย่างการใช้โปรแกรมต่างๆ อาทิ Sway ในการสร้างผลงานออนไลน์ การทำอีบุ๊คด้วย PowerPoint การใช้ OneDrive เพื่อเก็บภาพหรือวีดีโอ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้วิธีใหม่ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการสอน นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียนทำให้นักเรียนหันมาสนใจการเรียนมากขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งตัวเด็กนักเรียนสามารถนำโปรแกรมต่างๆ ไปฝึกฝนและใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อช่วยเหลือครอบครัวหรือชุมชนได้”
นางสาวสุรางคณา ศรีสวัสดิ์ จากโรงเรียนสตรีศรีน่าน จังหวัดน่าน กล่าวเสริมว่า “เทคโนโลยีสามารถช่วยส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ เติมเต็มทักษะในทางสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียน เช่น หากตั้งโจทย์ให้นักเรียนหาข้อมูลเรื่องน้ำ นักเรียนจะสนุกในการค้นหาข้อมูลด้วย search engine และตื่นเต้นไปกับข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้ค้นพบ เด็กนักเรียนสามารถนำความรู้มาสร้างเรื่องราวผ่านโปรแกรมต่างๆ อาทิ Word หรือ PowerPoint โดยครูจะทำหน้าที่ส่งเสริมการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนสะท้อนวิธีคิดและเทคนิค นักเรียนเองสามารถเลือกประเด็นที่น่าสนใจมาตั้งเป็นโจทย์ใหม่ได้เรื่อยๆ ซึ่งทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีได้ทำหน้าที่จุดประกายให้เด็กต่อยอดการเรียนรู้ต่อไปได้เรื่อยๆ”
“เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือไม่ใช่คำตอบ ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อคุณครูผู้สอนต่างเข้าใจและรู้จักการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้แก่เด็กนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสารหรือความเข้าใจในเทคโนโลยี และไมโครซอฟท์ก็พร้อมเป็นกำลังสำคัญให้กับครูผู้สอนและนักเรียนทุกคนเพื่อผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า และเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับการศึกษาไทย” นายสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวสรุป
คุณครู 10 ท่านผู้ชนะเลิศ ในโครงการ Thailand Innovative Teachers Leadership Awards 2016 ได้แก่
นอกจากนี้ ครูผู้ชนะเลิศทั้ง 10 ท่าน ในปีนี้ ยังได้รับพระกรุณาธิคุณเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ในเดือนกรกฎาคม ที่จะถึงนี้ด้วย
###
ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์
บริษัท ไมโครซอฟท์ (NASDAQ “MSFT”) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2518 เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการ ซอฟต์แวร์ ดีไวซ์ และโซลูชั่นที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของผู้ใช้และองค์กรธุรกิจ
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนยี เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ มีความสะดวกทันสมัย และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) http://www.microsoft.com/thailand หรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทย (http://www.microsoft.com/apac/news/thailand/default.aspx) และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ (สำหรับสื่อมวลชน):
คุณพรรวี สุรมูล และ คุณนิลาวรรณ มีเดช
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2627 3501 ต่อ 110, 127
อีเมล: [email protected], [email protected]