กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือไมโครซอฟท์และสตาร์ทอัพไทย Feedback180 พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเพื่อจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์ เสริมความคล่องตัวในการต้านภัยร้ายจากโควิด-19

Woman sitting in front of monitor displaying COVID-19 data dashboard

แดชบอร์ดกลางหนึ่งเดียว เสริมความคล่องตัวในการตรวจรักษาและยับยั้งการระบาด ครอบคลุมโรงพยาบาล
กว่า
966 แห่งทั่วประเทศ พร้อมวางรากฐานเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่โครงการ National Healthcare Center

กรุงเทพฯ  15 กันยายน 2563 – กระทรวงสาธารณสุขพลิกกลยุทธ์การรับมือกับโควิด-19 ดึงทรัพยากรข้อมูลจากทุกภาคส่วน พร้อมผนึกกำลังกับไมโครซอฟท์และสตาร์ทอัพไทย Feedback180 สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ปรับแผนการทำงานจากตั้งรับสู่เชิงรุก ร่วมเสริมความมั่นใจให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไปอีกครั้ง

YouTube Video

Man in white shirt with Ministry of Public Health logoนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “ภารกิจหลักของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานทางการแพทย์ในการต่อสู้กับโควิด-19 คือการควบคุมการระบาดของโรค วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่อาจติดเชื้ออย่างแม่นยำ ให้การรักษาแก่ผู้ติดเชื้ออย่างทันท่วงที และจัดหาสิ่งที่จำเป็นต่อภารกิจทั้งหมดนี้ให้กับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยทุกคน นับตั้งแต่เวชภัณฑ์สำหรับแพทย์และพยาบาล ไปจนถึงการจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอกับการตรวจรักษาผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่”

“สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เร่งดำเนินงานในด้านการบริหารทรัพยากรทางการแพทย์ให้เพียงพอสำหรับทุกฝ่าย โดยให้ความสำคัญไปที่การติดตามและใช้งานข้อมูลด้วยความเร็วระดับเรียลไทม์ เพื่อให้โรงพยาบาลและหน่วยบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ สามารถทราบอยู่เสมอว่ามีสิ่งของจำเป็นประเภทไหนอยู่ที่ใดบ้าง การรวบรวมทรัพยากรข้อมูลทั้งหมดนี้จากทั่วประเทศนับเป็นภารกิจที่ท้าทายไม่น้อย เราจึงเลือกที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นคำตอบ ย่นย่อระยะเวลาในการเก็บข้อมูลและวางระบบจากเดิมที่อาจนานเป็นปี ๆ ให้สามารถตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบันได้ทันท่วงที ในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน”

กระทรวงสาธารณสุขปรับแผนเชิงรุก จับมือสตาร์ทอัพไทย รับมือภัยโควิด-19 ด้วยพลังจากข้อมูล

จากความท้าทายนี้ ทางกระทรวงจึงได้จับมือกับ Feedback180 สตาร์ทอัพไทยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ เพื่อพัฒนาแดชบอร์ด (dashboard) กลางสำหรับติดตามข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์และทรัพยากรทางการแพทย์ทั่วประเทศไทย เสริมประสิทธิภาพให้โรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ตอบสนองต่อสถานการณ์ในแต่ละวันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยระบบแดชบอร์ดนี้พัฒนาขึ้นโดยใช้ Power BI เครื่องมือวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลเชิงลึกจากไมโครซอฟท์ ซึ่งทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure เพื่อสมรรถนะและความยืดหยุ่นสูงสุดในการใช้งานจริง

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สถานการณ์โรคระบาดที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากจะส่งผลกระทบกับทุกชีวิตบนโลกนี้แล้ว โรคโควิด-19 ยังทำให้เทคโนโลยีมีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก ในฐานะปัจจัยหลักที่ช่วยให้เราสามารถฟันฝ่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ สำหรับไมโครซอฟท์เอง เราต้องขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจไปกับภารกิจการยับยั้งโรคโควิด-19 และช่วยชีวิตผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเรามีความมุ่งมั่นเต็มที่ที่จะสนับสนุนพวกเขาด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรและกำลังคนมีความทั่วถึง ตอบสนองความต้องการในพื้นที่เสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น”

“ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีให้เราได้นำวิถีทางในการทำงานและประสานงานรูปแบบใหม่เข้ามาใช้งานในหลาย ๆ องค์กร โดยมุ่งนำข้อมูลมาเป็นทรัพยากรสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ด้วยความรู้รอบ เราภูมิใจที่ได้นำเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์แบบครบวงจร นับตั้งแต่ความสามารถในการประมวลผลของแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure ศักยภาพจาก AI และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Power BI มาเสริมให้ภารกิจการปกป้องคนไทยให้ปลอดภัยจากเชื้อร้ายลุล่วงไปได้”

Snapshot of COVID-19 dashboard with sample data

ภาพหน้าจอจากระบบแดชบอร์ดโควิด-19
(ข้อมูลที่แสดงเป็นเพียงข้อมูลตัวอย่างเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเลขจากสถานการณ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด)

นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในช่วงกลางเดือนมีนาคม ทุกฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนาระบบแดชบอร์ดนี้ควบคู่กับการใช้งานจริงมาโดยตลอด โดยสามารถแบ่งการพัฒนาและใช้งานออกเป็น 3 ระยะใหญ่ ๆ ได้แก่

ระยะที่ 1: การรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งและทุกรูปแบบที่ทางกระทรวงสาธารณสุขสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค หรือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อนำมาแสดงผลในระบบเดียว โดยขั้นตอนนี้รวมถึงการแปลงข้อมูลทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับการทำงานและแสดงผลแบบดิจิทัลด้วย

ระยะที่ 2: การตรวจสอบความแม่นยำของข้อมูล และเริ่มคาดการณ์สถานะความพร้อมและความต้องการด้านเวชภัณฑ์และบุคลากร โดยผนึกเอาข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือ ยา และบุคลากรจากโรงพยาบาลในแต่ละท้องที่ มาวิเคราะห์กับข้อมูลทรัพยากรที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ทราบว่าโรงพยาบาลในพื้นที่ใด ยังมีสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นเพียงพอต่อการปฏิบัติงานได้นานเท่าไร หรือมีภาวะขาดแคลนแพทย์-พยาบาลในพื้นที่เสี่ยงส่วนใดบ้าง

ระยะที่ 3 (ระยะปัจจุบัน): การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อประเมินสถานการณ์ในอนาคต เช่นการเก็บสถิติอาการผู้ป่วยเพื่อคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู เพื่อให้โรงพยาบาลในแต่ละท้องที่สามารถเตรียมการรับมือและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทันท่วงที

นายยงยุทธ ทรงศิริเดช ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟีดแบค 180 จำกัด กล่าวเสริมว่า “ความสำคัญของข้อมูลในโลกยุคดิจิทัลเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต่างเข้าใจดี จึงทำให้ทางสำนักงานปลัดกระทรวงฯ เข้ามาร่วมมือกับเราตั้งแต่แรกในการนำข้อมูลจากหลายแหล่ง หลายรูปแบบ มาผนึกรวมกันให้ผู้ใช้งานได้ทำความเข้าใจ จะช่วยให้สามารถมองเห็นสถานการณ์ตรงหน้าในมุมมองใหม่ ๆ และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม โครงการนี้นับเป็นการต่อยอดศักยภาพของเราในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ด้วยข้อมูล โดยตัวระบบแดชบอร์ดเองได้รวบรวมข้อมูลจากทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทานมาไว้ในที่เดียว จึงทำให้ทางสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ได้มองเห็นภาพใหญ่ของสถานการณ์ในประเทศอย่างเท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน และนำไปสู่การวางกรอบแนวทางและนโยบายที่เหมาะสมที่สุด เพื่อนำพาประเทศไทยกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด”

นอกเหนือจากคุณสมบัติด้านข้อมูลแล้ว ระบบแดชบอร์ดนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกหลายด้าน ทั้งระบบรักษาความปลอดภัยด้วยการยืนยันตัวตนผ่านรหัส OTP เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่สามารถเข้าระบบได้ และการแจ้งอัปเดทสถานการณ์ผ่านบัญชี LINE@ เป็นต้น

ปัจจุบัน แพลตฟอร์มข้อมูลนี้มีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เข้าใช้งานในแต่ละวันมากกว่า 1,500 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลครอบคลุมโรงพยาบาลถึง 966 แห่งทั่วประเทศ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนรองรับการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อให้ธุรกิจบางประเภทได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้น และทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับบนเวทีโลกในฐานะชาติที่จัดการกับโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ