นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ นายปวิช ใจชื่น รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจภาครัฐ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย
สนับสนุนการขยายขนาดธุรกิจและการเติบโตของสตาร์ทอัพผ่านการลงทุน การเข้าถึงเครื่องมือทางเทคโนโลยี และให้คำปรึกษาผ่าน M12 กองทุน Venture Capital Fund ของไมโครซอฟท์
กรุงเทพฯ – 30 มีนาคม 2565 – ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยร่วมงานมหกรรม “BCG Startup Investment Day” ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ “Bio-Circular-Green Economy” เพื่อยกระดับความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสตาร์ทอัพ ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย งานนี้ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรอีกหลายราย เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้ต่อยอดโอกาสทางธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติด้วยการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดบนฐานรากการพัฒนาอย่างยั่งยืน งานมหกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 ในรูปแบบไฮบริด ณ ศูนย์ C asean
นางสาวชูบา บี ราจีฟ, Global Market Development (GMD) สำหรับภาครัฐ – เอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น, ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวว่า “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้และพัฒนาฐานความรู้สำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวไปข้างหน้า มหกรรม “BCG Startup Investment Day” เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง NIA และ BOI โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของแต่ละฝ่ายในการเสริมสร้างพลังทางสังคมและการรวมตัวกันภายใต้เป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนสตาร์ทอัพ และด้วยความมุ่งมั่นในการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ไมโครซอฟท์จึงพยายามสนับสนุนให้สตาร์ทอัพสร้างและขยายธุรกิจเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกไปทั่วโลก โดยให้สตาร์ทอัพที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรต่างๆ ได้มากขึ้น และด้วยเครื่องมือ รวมถึงการสนับสนุนที่เหมาะสม เราจึงมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้สามารถเติบโต และยกระดับความก้าวหน้าของภูมิภาคให้ทัดเทียมนวัตกรรมระดับโลกได้ ไปพร้อมกับการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมด้วยเช่นกัน”
นอกจากจะได้ค้นพบไอเดียดีๆ จากผู้ประกอบการแล้ว ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยยังถือโอกาสนี้นำโปรแกรม Microsoft Thailand Founders program for Startups ซึ่งช่วยผลักดันให้สตาร์ทอัพด้าน B2B (Business to Business) ในทุกสเตจของการเดินทางเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจในระดับภูมิภาคมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรทางเทคโนโลยี การเชื่อมต่อเข้ากับคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัพ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมการเข้าสู่ตลาด และอื่นๆอีกมากมาย ที่สำคัญยังมี M12 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของไมโครซอฟท์เข้าร่วมงานในฐานะนักลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ ที่พร้อมสนับสนุนและผลักดันผู้ประกอบการผ่านเงินทุน การเข้าถึงลูกค้า และการพัฒนาธุรกิจที่รวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
นายปวิช ใจชื่น รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจภาครัฐ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย อธิบายเพิ่มเติมว่า “จากรายงาน Thailand Startup Ecosystem Report ปี 2564 โดย NIA พบว่าเราได้เห็นสตาร์ทอัพไทยบางรายสามารถพัฒนาไปสู่ระดับยูนิคอร์นได้ด้วยเงินทุนราว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนศักยภาพของอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพไทย ขณะเดียวกันการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ได้เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และหลายธุรกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด เราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของสตาร์ทอัพที่เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเราตั้งเป้าที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของพวกเขาด้วยการผลักดันให้เกิดการเติบโตขั้นสุดในทุกมิติผ่านเครื่องมือ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์ เพื่อยกระดับธุรกิจและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด”
ภายในงานมหกรรม “BCG Startup Investment Day” ครั้งนี้ ไมโครซอฟท์ยังให้คำปรึกษาและสนับสนุนกระบวนการนำเสนอไอเดียของสตาร์ทอัพเพื่อสร้างมุมมองการเล่าเรื่องของธุรกิจให้มีมิติมากขึ้น นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกจะมีโอกาสได้ร่วมงานด้วยการร่วมลงทุนจากทางไมโครซอฟท์ โดยไม่เพียงแต่เข้าถึงด้านเงินทุนเท่านั้น แต่ยังได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี รวมถึงคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและโอกาสทางการตลาดอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาสำหรับโครงการร่วมทุนนี้จะประกาศให้ทราบในภายหลัง และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทีมงานของไมโครซอฟท์ ที่ [email protected], [email protected] และ [email protected]