ส่องนวัตกรรม Microsoft Ignite 2024: เผย 70% ของบริษัทติดอันดับ Fortune 500 เลือกใช้ Microsoft 365 Copilot

ไมโครซอฟท์ ยกขบวนหลากหลายนวัตกรรมสุดล้ำเปิดตัวในงาน Microsoft Ignite 2024 เดินหน้าสนับสนุนลูกค้า พันธมิตร และนักพัฒนา ในการนำศักยภาพของเทคโนโลยีจากไมโครซอฟท์มาใช้งานได้อย่างเต็มที่ รวมถึงปฏิวัติรูปแบบการทำงานด้วยแนวทางใหม่ๆ โดยในปีนี้ ไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่กว่า 80 รายการ รวมถึงความสามารถใหม่ๆ ใน Microsoft 365 Copilot และเสริมประสิทธิภาพ Copilot + AI stack ตลอดจนนำเสนอผลิตภัณฑ์ Copilot+ รุ่นใหม่ พร้อมตอกย้ำสิ่งที่สำคัญที่สุดเหนืออื่นใดคือเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน

โดยนับตั้งแต่เปิดตัว Secure Future Initiative (SFI) เมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ ได้ยกระดับความปลอดภัยให้เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับพนักงานไมโครซอฟท์ทุกคน ปัจจุบันเรามีวิศวกรกว่า 34,000 คนที่ทุ่มเททำงานในด้านนี้ โดยนวัตกรรมต่างๆ ที่จะเปิดตัวในงาน Ignite ล้วนอยู่ภายใต้หลักการ SFI คือ การออกแบบที่ปลอดภัย การใส่ใจเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ การกำหนดค่าเบื้องต้น และการดำเนินงานที่ปลอดภัย

มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน Ignite ในปีนี้มากกว่า 200,000 คน และมีผู้เข้าร่วมงานจริงที่ชิคาโกกว่า 14,000 คน ซึ่งมีทั้งช่วงการบรรยาย การสาธิต และห้องปฏิบัติการที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์และของพันธมิตร ให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถเลือกเข้าร่วมได้มากกว่า 800 รายการ ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่จากงาน Ignite ยังเปิดให้รับชมย้อนหลังได้ตามต้องการสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับชมผ่านการถ่ายทอดสดได้

ในกรณีของ AI มี 2 สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือ โลกของ AI กำลังหมุนไปอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาต่างๆ ใช้เวลาสั้นกว่าที่เคย ความจริงอีกประการคือ ลูกค้าหลายแสนรายกำลังใช้เทคโนโลยี AI ของไมโครซอฟท์ และด้วยการลงทุนในแพลตฟอร์มนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ พวกเขากำลังเห็นประโยชน์มากมายในขณะนี้และเตรียมพร้อมที่จะได้รับประโยชน์จากการปรับปรุง AI ครั้งใหญ่ในอนาคต

พลังขับเคลื่อนของ Copilot

Microsoft 365 Copilot คือผู้ช่วย AI ในการทำงาน ซึ่งกำลังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์กรนำ Copilot ไปใช้งานมากขึ้น และได้รับผลสำเร็จจากการใช้งาน โดยปัจจุบันมีบริษัทใน Fortune 500 ประมาณ 70% ที่ใช้งาน Microsoft 365 Copilot

สิ่งนี้สะท้อนถึงเทรนด์ของอุตสาหกรรม โดยผลการศึกษาของ IDC ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า Generative AI กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจากการสำรวจกลุ่มบริษัทในปี 2024 พบว่ามีอัตราการใช้งานถึง 75% ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทที่ใช้งานอยู่ระบุว่าทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ลงทุนไปกับเทคโนโลยี Generative AI ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์กลับมาถึง 3.70 ดอลลาร์ โดยมีผู้นำองค์กรหลายรายระบุว่าได้รับประโยชน์สูงถึง 10 ดอลลาร์

การลงทุนของไมโครซอฟท์เพื่อพัฒนา Copilot จึงกำลังสร้างผลลัพธ์ที่คุ้มค่าให้กับลูกค้าของเรา

เมื่อเร็วๆ นี้ ไมโครซอฟท์ยังได้นำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของลูกค้ากว่า 200 รายที่ใช้ AI ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ด้วย Copilot จุดประกายการสร้างนวัตกรรมและยกระดับองค์กรต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น:

  • Eaton: บริษัทจัดการพลังงาน Eaton ใช้ Microsoft 365 Copilot เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล ให้เกิดการจัดการความรู้แบบรวมศูนย์ ช่วยให้พนักงานใช้เวลากับงานที่สร้างมูลค่าสูงได้มากขึ้น โดยฝ่ายการเงินของ Eaton ใช้ Copilot ในการช่วยจัดการเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน หรือ SOP มากกว่า 9,000 รายการ ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการทำงานรวมลงกว่า 650 ชั่วโมง หรือประหยัดเวลาลงได้ถึง 83% ต่อ SOP หนึ่งรายการ
  • บริษัทที่ปรึกษา McKinsey & Company กำลังพัฒนา Agent หรือผู้ช่วยเพื่อย่นระยะเวลาในกระบวนการเพิ่มลูกค้าเข้าสู่ระบบ จากการทดลองใช้แสดงให้เห็นว่าช่วยลดเวลาดำเนินการลงได้ถึง 90% และลดเวลาการทำงานเอกสารลง 30% โดย Agent จะดำเนินกระบวนการที่ซับซ้อนให้โดยอัตโนมัติ เช่น การระบุผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมและการจัดทีมงานให้กับลูกค้า รวมทั้งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับทีมงานในการสอบถามและติดตามผล การปรับปรุงการทำงานและลดเวลาในการป้อนข้อมูลด้วยมือ ช่วยประหยัดเวลาให้กับพนักงานที่เป็นที่ปรึกษาได้หลายชั่วโมง เพื่อให้มีเวลาเวลาในการดูแลลูกค้ามากขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Microsoft 365 Copilot

ไมโครซอฟท์ ยังเดินหน้าพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ใน Microsoft 365 Copilot อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดความซับซ้อนของภาระงานในแต่ละวัน

Copilot Actions (ปัจจุบันอยู่ในช่วงพรีวิวการทดลองใช้งานเฉพาะกลุ่ม) ช่วยให้ทุกคนสามารถทำงานประจำวันแบบอัตโนมัติได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกคำสั่งในช่องว่าง ไม่ว่าจะเป็นการสรุปการประชุมแบบรายวันใน Microsoft Teams การรวบรวมรายงานประจำสัปดาห์ หรือสรุปการประชุม การพูดคุย และอีเมลต่างๆ เมื่อกลับจากวันหยุดพักร้อน

ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า Actions ได้อย่างสะดวกในแอปพลิเคชัน Microsoft 365 และสามารถใช้เวลาไปกับงานที่สำคัญมากกว่า เพื่อช่วยประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ผู้ช่วยใหม่ใน Microsoft 365 ออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ใช้งาน และยกระดับกระบวนการทำงานให้กับธุรกิจ โดยสิ่งที่ไมโครซอฟท์จะเปิดตัวในงาน Ignite ครั้งนี้ ได้แก่

  • Agent in SharePoint คือผู้ช่วย AI ที่ใช้ภาษาธรรมชาติ ซึ่งจะทำงานโดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ ไฟล์ และโฟลเดอร์ SharePoint ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานค้นหาคำตอบจากเนื้อหาเหล่านั้นได้ง่ายและตัดสินใจได้เร็วขึ้น ปัจจุบันเปิดให้บริการในแล้ว โดยทุกๆ ไซต์ของ SharePoint จะมีผู้ช่วยที่ออกแบบมาให้เหมาะกับเนื้อหานั้นๆ ผู้ใช้ยังสามารถสร้างผู้ช่วยที่กำหนดเองได้โดยเลือกไฟล์ โฟลเดอร์ หรือไซต์ SharePoint ที่ต้องการได้ง่ายๆ ด้วยการคลิกแค่ครั้งเดียว
  • Interpreter ฟีเจอร์ผู้ช่วยใน Teams เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปลดล็อคข้อจำกัดด้านภาษาได้ ด้วยการแปลคำพูดภาษาหนึ่งเป็นคำพูดอีกภาษาหนึ่งแบบเรียลไทม์ได้ในระหว่างการประชุม โดยจะเปิดให้บริการเวอร์ชั่นพรีวิวสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในช่วงต้นปี 2025 และยังสามารถเลือกเสียงที่แปลออกมาให้เป็นเสียงของตนเองได้อีกด้วย
  • The Employee Self-Service Agent ผู้ช่วยนี้อยู่ในระหว่างการทดลองใช้งานบน Business Chat เพื่อให้ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ได้เร็วขึ้น และลดความซับซ้อนในกระบวนการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและไอที เช่น การอธิบายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้พนักงานเข้าใจ หรือการขอคอมพิวเตอร์พกพาเครื่องใหม่ ฟีเจอร์นี้สามารถปรับแต่งได้ใน Copilot Studio เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กร
  • ผู้ช่วยอื่นๆ ในเวอร์ชั่นที่เปิดพรีวิวสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป มีทั้งฟังก์ชั่นจดบันทึกการประชุมแบบเรียลไทม์ใน Teams และการจัดการโครงการแบบอัตโนมัติได้ตั้งแต่ต้นจนจบใน Planner

Copilot + AI Stack  

Copilot stack ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทันสมัยในทุกขั้นตอนการทำงาน โดยไมโครซอฟท์ได้สร้าง Azure AI Foundry เพื่อให้ลูกค้าสามารถออกแบบ ปรับแต่ง และจัดการระบบ AI ได้อย่างสะดวกแบบครบจบในที่เดียว พร้อมทั้งสามารถใช้บริการและเครื่องมือต่างๆ ของ Azure AI ที่มีอยู่เดิม รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่กำลังจะเพิ่มเข้ามา ได้แก่

  • Azure AI Foundry SDK เวอร์ชันทดลองที่เพิ่งเปิดตัว เป็นชุดเครื่องมือครบวงจรสำหรับองค์กร ที่ช่วยให้ออกแบบและปรับแต่งแอปพลิเคชันและผู้ช่วย AI ได้ตามต้องการ สามารถจัดการระบบ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมการทำงานได้อย่างปลอดภัยได้มาตรฐานระดับองค์กร นอกจากนี้ Foundry ยังมีแอปพลิเคชันสำเร็จรูป 25 แบบให้เลือกใช้ มอบประสบการณ์การเขียนโค้ดที่ง่ายขึ้นซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากเครื่องมือที่นักพัฒนาคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น GitHub, Visual Studio และ Copilot Studio
  • Azure AI Foundry portal (เดิมชื่อ Azure AI Studio) เปิดให้ใช้งานในเวอร์ชันทดลองกับอินเตอร์เฟซการใช้งานแบบภาพกราฟิกที่ครอบคลุม เพื่อช่วยให้นักพัฒนาค้นหาโมเดล AI บริการและเครื่องมือต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น จากการมีแดชบอร์ดศูนย์กลางที่รวมข้อมูลสำคัญทั้งหมดไว้ในที่เดียว เหมาะสำหรับทีมไอที ทีมปฏิบัติการ และทีมกำกับดูแล ในการจัดการแอปพลิเคชัน AI ขององค์กรขนาดใหญ่
  • Azure AI Agent Service เป็นบริการใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวเวอร์ชันทดลองในเร็วๆ นี้ บริการนี้จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับงานธุรกิจ โดยใช้ผู้ช่วย AI ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถจัดการ ติดตั้ง และปรับขยายการทำงานได้ตามต้องการ

ไมโครซอฟท์ยังคงพัฒนาเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ AI ที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย โดยได้เปิดตัวระบบรายงาน AI และระบบประเมินความเสี่ยงสำหรับรูปภาพ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถใช้งานแอปพลิเคชัน AI ได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎระเบียบ ระบบรายงาน AI จะช่วยให้องค์กรสามารถติดตาม ร่วมมือ และควบคุมการใช้งานแอป AI รวมถึงโมเดลที่ได้รับการปรับแต่งได้ดียิ่งขึ้น

มาพร้อมกับระบบประเมินรูปภาพจะช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบความถี่และระดับความรุนแรงของเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างภาพด้วย AI ได้อีกด้วย

ดีไวซ์ Copilot+

ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาโซลูชัน Cloud PC ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยการเปิดตัวอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Windows 365 ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยภายในเวลาไม่กี่วินาที การพัฒนานี้สอดรับกับแนวโน้มที่องค์กรต่างๆ กำลังย้ายระบบการทำงานไปบนคลาวด์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น

Windows 365 Link อุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ Windows 365 โดยเฉพาะ ซึ่งเน้นการใช้งานที่ง่ายและปลอดภัย อุปกรณ์นี้กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง และจะเริ่มวางจำหน่ายในบางประเทศตั้งแต่เดือนเมษายน 2025 เป็นต้นไป ในราคา 349 ดอลลาร์ มอบประสบการณ์การทำงานบน Windows แบบเดสก์ท็อปที่คุ้นเคย ผ่านระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูง

Windows 365 Link มาพร้อมระบบความปลอดภัยระดับสูงตั้งแต่การออกแบบ เพราะทุกข้อมูลและทุกแอปพลิเคชันจะได้รับจัดเก็บไว้บนระบบคลาวด์ของไมโครซอฟท์เท่านั้น ไม่มีการบันทึกลงในตัวเครื่อง อีกทั้งผู้ใช้ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบในฐานะผู้ดูแล (Admin) ได้ จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญขององค์กรจะปลอดภัยอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เพิ่มความสามารถใหม่ให้กับ Copilot+ PC สำหรับลูกค้าในระดับองค์กร โดยใช้ประโยชน์จากชิป AI (NPUs) ที่ติดตั้งมาในเครื่อง สามารถประมวลผล AI ได้ในตัวเครื่อง พร้อมกับปรับปรุงระบบค้นหาของ Windows และเพิ่มฟีเจอร์ Recall แบบใหม่ (อยู่ในช่วงทดลอง) ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่พิมพ์อธิบายสิ่งที่ต้องการ โดยฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้จะเริ่มทดสอบกับกลุ่ม Windows Insider ที่ใช้ Copilot+ PC ก่อน แล้วจึงเปิดให้ลูกค้าทั่วไปใช้งานได้ในภายหลัง

ความก้าวหน้าของ BlackRock

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว BlackRock ซึ่งเป็นบริษัทจัดการสินทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์ โดยได้ย้ายแพลตฟอร์ม Aladdin มาใช้งานบน Microsoft Azure ซึ่งจากการวางรากฐานบน Azure นี้ BlackRock ได้พัฒนาและเปิดตัว Aladdin Copilot ซึ่งเป็นเครื่องมือ AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองสำหรับลูกค้าทั่วโลก

Aladdin Copilot ใช้เทคโนโลยี AI ของไมโครซอฟท์ในการเชื่อมโยงการทำงานของทั้งระบบเข้าด้วยกัน ช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับคำตอบทันที เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และค้นพบข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การพัฒนานี้ทำให้แพลตฟอร์ม Aladdin สามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาดและตอบสนองได้ดีขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น ขยายการใช้งานได้กว้างขึ้น และผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ครบถ้วนมากขึ้น

ความร่วมมือระหว่าง BlackRock และไมโครซอฟท์มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากการย้ายระบบไปยัง Azure และการเปิดตัว Aladdin Copilot แล้ว BlackRock ยังได้ลงทุนซื้อสิทธิ์การใช้งาน Microsoft 365 Copilot สำหรับพนักงานถึง 24,000 คน โดยปัจจุบันมีพนักงานราว 60% ที่ใช้ Copilot เป็นประจำทุกสัปดาห์

ล่าสุด BlackRock ยังได้ตัดสินใจย้ายระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) จากเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรขึ้นไปยังระบบคลาวด์ด้วย Dynamics 365 เนื่องจากสามารถทำงานร่วมกับ Teams และ Outlook ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญของการตัดสินใจครั้งนี้

ความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัย

ไมโครซอฟท์ตระหนักดีว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับผู้ไม่ประสงค์ดีอยู่เสมอ โดยไมโครซอฟท์เชื่อว่าการรักษาความปลอดภัยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและการสร้างพันธมิตรในชุมชนด้านความปลอดภัย ทั้งการแบ่งปันข้อมูล และการทำงานร่วมกัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคามได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยแนวคิดการร่วมมือกันด้านความปลอดภัย ไมโครซอฟท์ได้ประกาศจัดการแข่งขัน Zero Day Quest ในงาน Ignite ภายใต้โครงการ Secure Future Initiative (SFI) ซึ่งเป็นงานวิจัยด้านความปลอดภัยสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การแข่งขันนี้มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยของ AI และระบบคลาวด์ โดยมีเงินรางวัลรวมเป็นมูลค่าถึง 4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นรางวัลที่สูงที่สุดในวงการ และยังเพิ่มเติมจากโปรแกรมให้รางวัลประจำปีมูลค่า 16 ล้านดอลลาร์ที่มีอยู่เดิม จุดประสงค์ของการแข่งขัน คือการเฟ้นหาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระดับโลก มาช่วยแก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับลูกค้า พร้อมโอกาสรับรางวัลแบบทวีคูณ

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยไมโครซอฟท์พบว่าผู้โจมตีได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการหาจุดอ่อนของระบบ ผ่านการใช้การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงแบบกราฟระหว่างข้อมูลส่วนตัว ไฟล์ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อหาช่องทางโจมตี วิธีการนี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างความเสียหายได้เป็นวงกว้างจากการโจมตีเพียงจุดเดียว ในขณะที่ระบบรักษาความปลอดภัยแบบเดิมมักได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันเฉพาะจุด เช่น แล็ปท็อปหรืออีเมล แต่ไม่สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงทั้งระบบ จึงไม่สามารถป้องกันการโจมตีในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไมโครซอฟท์จึงได้เปิดตัว Security Exposure Management ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัยในรูปแบบใหม่ที่ใช้ทั้งข้อมูลอัจฉริยะและ AI ระบบนี้รวมข้อมูลจากกราฟของไมโครซอฟท์เข้ากับข้อมูลจากเครื่องมือรักษาความปลอดภัยของบริษัทอื่นๆ ที่ลูกค้าใช้งาน ทำให้สามารถแสดงภาพรวมของช่องโหว่ต่างๆ และคาดการณ์เส้นทางการโจมตีได้ก่อนที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะค้นพบ

ด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลในระดับคลาวด์ ทำให้ระบบสามารถติดตามทรัพย์สินดิจิทัลและความเสี่ยงต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยป้องกันการบุกรุกได้ดีขึ้น พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารด้านไอที การปฏิบัติการ และการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยในด้านการตัดสินใจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนวัตกรรมและการพัฒนาที่น่าตื่นเต้นที่ไมโครซอฟท์จะประกาศในงาน Ignite ครั้งนี้ ท่านสามารถติดตามการปาฐกถาพิเศษจากผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์ นำโดย Satya Nadella, Rajesh Jha, Scott Guthrie, Charlie Bell และ Vasu Jakkal ได้ทั้งแบบถ่ายทอดสดและรับชมย้อนหลัง

นอกจากนี้ ท่านยังสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประกาศทั้งหมดได้จาก Book of News ซึ่งเป็นเอกสารรวบรวมข่าวสารประจำวันอย่างเป็นทางการ รวมถึงบทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ