ไมโครซอฟท์ตอกย้ำความสำคัญสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิง สนับสนุนเด็กหญิงไทยผ่านแคมเปญ #MakeWhatsNext

 |   Thornthawat Thongnab

ก้าวแรกของเด็กผู้หญิงทั่วประเทศไทยและเอเชียสู่การเปลี่ยนแปลงโลก ด้วยแรงบันดาลใจที่หนุนการประกอบอาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็มศึกษา (STEM) ภายใต้ความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ 

กรุงเทพฯ – 9 เมษายน 2561 – การสร้างความเชื่อมั่นว่าคนไทยทุกคนจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและทักษะที่เกี่ยวข้องนับเป็นหนึ่งในพันธกิจหลัก ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จึงได้ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในการเริ่มต้นหลากหลายกิจกรรมและโครงการเพื่อเปิดตัวแคมเปญ #MakeWhatsNext  โครงการระดับโลกของไมโครซอฟท์ที่มุ่งมั่นจะที่สนับสนุนเด็กผู้หญิงในการประกอบอาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็มศึกษา (STEM)

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในอีกสามปีข้างหน้ามีการคาดการณ์ว่า 95ของอาชีพในประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และ 65% ของอาชีพสำหรับคนรุ่นต่อไปจะไม่ใช่อาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทักษะและการศึกษาจะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดงานสำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือทักษะเชิงดิจิทัลที่มีความสำคัญที่สุดและจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นต่อแรงงานในอนาคต นั่นคือเหตุผลที่ไมโครซอฟท์จึงมีพันธกิจที่มุ่งมั่นให้เยาวชนทุกคนได้รับโอกาสในการเข้าถึงทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัลนี้

ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงไทยกับการมีส่วนร่วมในแคมเปญ #MakeWhatsNext  

ในปัจจุบัน จำนวนผู้หญิงที่ศึกษาและประกอบอาชีพในสาขาสะเต็มศึกษายังมีจำนวนไม่มากนัก ทั้งที่เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สถาบันสถิติแห่งยูเนสโก (UNESCO’s Institute for Statistics) ประเมินว่ามีเพียง 23% ของจำนวนนักวิจัยทั้งหมดในเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกที่เป็นผู้หญิง และเพียง 35% ของนักเรียนผู้หญิงที่ศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา 

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้จัดกิจกรรมสำหรับบุคคลทั่วไป 2 กิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 104 คน เพื่อร่วมสนับสนุนพลังของเด็กผู้หญิงในสาขาสะเต็มศึกษา  

กิจกรรมหนึ่งในนั้นคือ ดิจิเกิร์ลซ์ 2018 (DigiGirlz 2018) งานครึ่งวันที่แบ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจถึงสองช่วง โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษากับนักเรียนผู้หญิงในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายเกี่ยวกับประโยชน์ของการเรียนด้านสะเต็มศึกษาและสนับสนุนให้เข้าร่วมเวิร์คช็อปภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาด้วย กิจกรรมสำคัญดังกล่าว มีเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 13 ถึง 17 ปี มาร่วมรับฟังคำแนะนำ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้จากผู้นำในอุตสาหกรรมหลายท่าน

แม้ว่าความแตกต่างทางเพศที่มีต่อความสำเร็จด้านสะเต็มศึกษาจะลดลงในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาในประเทศไทย แต่การเหมารวมที่ว่าผู้ชายเท่านั้นที่สามารถประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและวิศวกรรมก็ยังคงอยู่ สำหรับเด็กนักเรียนแล้ว โอกาสในการเข้าถึงสะเต็มศึกษาและการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิงที่มักจะรู้สึกกลัวหรือกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา หรืออาจรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ การชักจูงให้เด็กผู้หญิงหันมาให้ความสนใจสะเต็มศึกษามากขึ้นนั้นจะต้องใช้วิธีการที่ครอบคลุม หลอมรวมกันอย่างลงตัว และให้เขามองเห็นอนาคตที่รอคอย ซึ่งประกอบด้วยการมอบเครื่องมือที่ดี การสนับสนุนที่เหมาะสม และการให้คำปรึกษาที่จุดประกายความสนใจและความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กผู้หญิง ไมโครซอฟท์ภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและสนับสนุนเด็กผู้หญิงให้มีทัศนคติที่เชื่อว่าพวกเขา ทำได้ และมีกระบวนการทางความคิดที่นำไปสู่ การเติบโต และกิจกรรมในวันนี้ก็เป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มที่จะช่วยประเทศไทยในการจัดการปัญหาเกี่ยวกับช่องว่างระหว่างเพศได้สำเร็จ นายธนวัฒน์ กล่าว 

ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า เรามีความคิดเห็นเช่นเดียวกับไมโครซอฟท์ที่เชื่อว่าอนาคตของแรงงานในประเทศไทยขึ้นอยู่กับสะเต็มศึกษา และขอชื่นชมในความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในการรับหน้าที่สนับสนุนเด็กผู้หญิงให้เดินตามเส้นทางนี้ ด้วยการเลือกเส้นทางอาชีพเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา จะช่วยให้ผู้หญิงและผู้ชายรุ่นใหม่ได้ใช้ศักยภาพของพวกเขาอย่างเต็มที่และช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับประเทศและโลกของเราได้

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้วิชาสะเต็มศึกษาขาดความสมดุลทางเพศเพราะขาดบุคลากรตัวอย่างที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กผู้หญิง รวมถึงขาดการสร้างความมั่นใจให้เด็กผู้หญิงถึงความสามารถที่เขามีในการก้าวสู่การทำงานในสายงานนี้ และในความเป็นจริงในภูมิภาคนี้มีผู้หญิงอายุระหว่าง 12-19 ปีเพียงจำนวน 1 ใน 4 คนเท่านั้น ที่รู้จักบุคคลที่มีชื่อเสียงในสาขาวิชาสะเต็มศึกษา 

หลังจากการเปิดงานอย่างเป็นทางการ เด็กผู้หญิงผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสรับฟังเรื่องราวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากผู้บริหารหญิงที่มีชื่อเสียงจากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย ประกอบด้วย นางสาวพิมพ์ผกา อังสวานนท์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายไอที หัวหน้าฝ่าย PLO ONE ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน นางสาวกัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Ooca และนางสาววิภาวรรณ จารุกิจพิพัฒน์ Microsoft Student Partners ที่มาแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเรียนทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อเดินตามเส้นทางอาชีพในฝันและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมของพวกเขา  

นางสาวชนัญชิดา แขเพ็ญ นักเรียนผู้เข้าร่วมแคมเปญ #MakeWhatsNext – ดิจิเกิร์ลซ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจโค้ดดิ้งมาก่อน แต่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมงาน #MakeWhatsNext – DigiGirlz  ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้ผิดก็ไม่เป็นไร แก้ไขได้ ตอนแรกคิดว่ายาก แต่กิจกรรมวันนี้ทำให้การเขียนโค้ดเข้าใจง่าย ทำให้เปิดใจยอมรับการเขียนโค้ดมากขึ้น

สะท้อนแสงสู่พนักงานหญิงผู้มีความสามารถที่โดดเด่นของเรา

ไมโครซอฟท์ยังเชื่อว่าการมุ่งสร้างความสำเร็จตามพันธกิจขององค์กรและการสนับสนุนทุกคนและทุกองค์กรในโลกนี้ให้บรรลุความสำเร็จได้ดียิ่งกว่าเราจะต้องเริ่มจากการมอบสิ่งที่ดียิ่งกว่าเดิม นั่นคือเหตุผลที่ในปีนี้ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ตัดสินใจที่ยกย่องพนักงานหญิงผู้มีพรสวรรค์และความสามารถ ผู้ซึ่งมีความทุ่มเทในการทำงานและเป็นแรงบันดาลให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ มีนาคม ที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนพื้นที่ห้องประชุมห้องหนึ่งของเราให้กลายเป็นสตูดิโอถ่ายภาพ โดยการเชิญชวนให้ผู้หญิงได้มาเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาทั้งนักบุกเบิก ฮีโร่ และต้นแบบที่จะช่วยสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงไทยยุคต่อไปในอนาคตได้

ยูเนสโกไมโครซอฟท์ แฮ็คกาธอนเพื่อวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขของอาเซียน

นอกจากนั้น ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ยังได้ร่วมมือกับยูเนสโกและสถาบันสถิติแห่งยูเนสโก เพื่อจัดกิจกรรมการแข่งขัน แฮคกาธอนเพื่อเปิดโลกสันติวัฒนธรรม ด้วยข้อมูลจากบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ร่วมรากอุษาคเนย์ (Shared Histories of South-East Asia) เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรทุกคนจึงจะเข้าถึงสันติวัฒนธรรม และเข้าใจว่าประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อปรองดอง ไม่ใช่เพื่อแตกแยก” โดยกิจกรรมดังกล่าวเปิดโอกาสให้แต่ละทีมมีสมาชิกนักพัฒนาแอปบนโทรศัพท์และเว็บไซต์เป็นผู้หญิง 70% และผู้ชาย 30% ซึ่งล้วนต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างผ่านเทคโนโลยี ความสงบสุข และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการเชิญชวนให้สร้างสรรค์แอปบนโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ที่จะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและความสามัคคี และสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้ต่อสังคม

ในวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา มีทีมนักเรียนผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 13 ทีม โดยมี 5 ทีมผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายจากการแข่งขันอันเข้มข้น โดยแต่ละทีมได้รับเงินจำนวน 20,000 บาท เพื่อพัฒนาแอปให้สมบูรณ์ เพื่อนำเสนอในการแข่งขันรอบสุดท้ายของทีมผู้ผ่านการคัดเลือกในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ ผู้ชนะการแข่งขันแฮ็คกาธอนในครั้งนี้จะได้รับรางวัล ถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโอกาสในการแสดงผลงานของพวกเขา ณ ยูเนสโก ซิมโพเซียม ในหัวข้อประวัติศาสตร์ร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการสนทนาข้ามวัฒนธรรมและเพื่อวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขในเดือนตุลาคม 2561