ไมโครซอฟท์กับ 20 ปีแห่งการสานต่อพันธกิจ เทคโนโลยีเพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับคนไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืน

 |   Thornthawat Thongnab

เตรียมความพร้อมเยาวชนทุกคนเพื่ออนาคต

วันนี้ ประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศลำดับต้นๆ ของเอเชียที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศชาติมากที่สุด และไมโครซอฟท์ก็ยังคงสานต่อพันธสัญญาในการช่วยพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนในระยะยาว ด้วยเป้าหมายในการเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกนี้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเป็นแรงสำคัญเพื่อช่วยให้ทุกคนบรรลุขีดความสามารถของตนเองโดยมีเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก

เตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนทุกคนเพื่ออนาคต: เราเชื่อว่าในอนาคตทุกคนจะมีทักษะ ความรู้และโอกาสในการบรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า”

หนึ่งในภารกิจหลักของไมโครซอฟท์ คือ การสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนต้องเข้าถึงเทคโนโลยีและความรู้ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม

จากนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การปฏิรูปในหลายมิติ ทั้งในด้านภาวะเศรษฐกิจสังคม ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทั้งหมดนี้สร้างโอกาสการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ในเส้นทางการพัฒนาเยาวชน ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ให้ดีขึ้น ผ่านความร่วมมือกับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรไม่แสวงหากำไร

เป็นกำลังสำคัญให้ทุกคน

อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงนี้นับเป็นดาบสองคม เพราะมีความเสี่ยงที่คนนับล้านอาจจะปรับตัวตามไม่ทัน และถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ดังนั้น การก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเป็นหลัก จะประสบความสำเร็จได้ด้วยการเตรียมคนไทยให้มีความพร้อมด้วยทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ใน 4 ปีที่ผ่าน ไมโครซอฟท์ได้จัดการอบรมที่หลากหลายและเพิ่มทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครูผู้ฝึกและเยาวชนจำนวน 56,000 คนในประเทศไทย และในปีนี้ความมุ่งมั่นของเราจะเพิ่มขึ้นอีกสองเท่าตัวเพื่อที่จะขยายการอบรมให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นอีก 20,000 คน

เป็นกำลังสำคัญ ในการเตรียมพร้อมเยาวชนไทยทุกคน เพื่ออนาคต

ทักษะและการศึกษาจะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดงานสำหรับคนรุ่นใหม่ และทักษะเชิงดิจิทัลจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นต่อแรงงานในอนาคต

ในอีกสามปีข้างหน้ามีการคาดการณ์ว่า 95% ของอาชีพในประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และ 65%[1] ของอาชีพสำหรับคนรุ่นต่อไปจะไม่ใช่อาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการจ้างงาน ซึ่งเยาวชนจะไม่สามารถปฏิเสธการพัฒนาทักษะและวิชาชีพในสาขานี้ได้เลย

รายงานของไมโครซอฟท์เรื่อง ปลดล็อคโลกเศรษฐกิจในยุคแห่งการปฏิรูปด้วยดิจิทัล จากการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริหารในองค์กรขนาดกลางและใหญ่ในเอเชีย แปซิฟิก รวมถึงผู้ที่ทำงานในองค์กรการศึกษา พบว่า 87% ของผู้นำสายการศึกษา เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้และจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งยังเชื่อว่าต้องปรับเปลี่ยนสู่สถาบันการศึกษาแบบดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อนาคต

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมเพื่ออนาคตให้กับเยาวชนทุกคนจากทุกภูมิหลัง ด้วยทักษะและความรู้เชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย

การเสริมสร้างทักษะทางการศึกษา

ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราได้ประกาศแผนการขยายโครงการ #YouthSpark ด้วยเงินทุนสนับสนุนมูลค่า 3 ล้านบาท ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มจำนวนครูและองค์กรเพื่อเยาวชนที่สามารถนำทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นไปเผยแพร่ให้กับเยาวชน ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้วยการขยายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาด้านดิจิทัลให้กับเยาวชนทุกคน จากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบในระยะยาว รวมถึงพัฒนาความสามารถขององค์กรที่ทำงานร่วมกับเยาวชนพิการและเยาวชนที่มาจากชุมชนผู้ด้อยโอกาส

การประกาศโครงการสำคัญนี้เกิดขึ้น ณ การเวิร์คชอปด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สำหรับเยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ

โครงการ #YouthSpark ภายใต้ความร่วมมือของไมโครซอฟท์กับพันธมิตร จะให้การอบรมสอนหลักสูตรเกี่ยวกับทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ให้กับเยาวชนผู้ด้อยโอกาสที่ว่างงานและอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเป็นจำนวน 18,000 คนทั่วประเทศ รวมทั้งจัดอบรมครูผู้ฝึกจำนวน 1,200 คน

“ฉันเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่เกิด ทำให้การเรียนร่วมกับเด็กคนอื่นๆ เป็นเรื่องยากมาก แต่การฝึกอบรมของโครงการนี้แตกต่างจากหลักสูตรอื่นๆ เพราะเริ่มต้นจากการสอนวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้ฉันได้เรียนรู้ทักษะการแก้ไขปัญหาที่สามารถใช้ได้จริง ช่วยให้การเรียนโค้ดดิ้งเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น การใช้เกม Minecraft เป็นเครื่องมือในการสอนยังช่วยให้การโค้ดดิ้งเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น ทำให้มีแรงจูงใจในการเรียน และไม่รู้สึกเบื่อหรือเครียดเลย วิธีนี้ช่วยให้ฉันเรียนรู้ทักษะเชิงดิจิทัลได้รวดเร็วขึ้นมาก” นางสาวภิญญาพัชญ์ จันทร์โสธร นักเรียนหลักสูตรการพัฒนาระบบสารสนเทศ โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา กล่าว 

โครงการนี้ยังได้รับสานต่ออย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สองในปี 2561 ด้วยความมือจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น และมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิการ

ไมโครซอฟท์จัดการอบรม “MakeWhatsNext with MakeCode Thailand 2018” ภายใต้แนวคิด “Dream it, Do it, Code it!” เพื่อสนับสนุนครูผู้ฝึกวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ทั่วประเทศไทย ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายของหลักสูตรการสอนรูปแบบใหม่ ที่ครูผู้ฝึกจะต้องสามารถสอนทักษะทางดิจิทัลรวมถึงการโคดดิ้งเพิ่มเติมให้กับนักเรียนของพวกเขา

ในการอบรมได้แนะนำ วิธีการนำ Micro:bit ของไมโครซอฟท์เข้าไปใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และทักษะในการนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามาหลอมรวมในการศึกษาในยุค 4.0 การอบรมนี้ช่วยเตรียมความพร้อมครูผู้ฝึก 300 คน ในด้านความรู้ขั้นพื้นฐานของ Micro:bit โค้ดดิ้ง ซึ่งจะมีการต่อยอดการสอนไปสู่เยาวชนไทยต่อไป ในช่วงเปิดภาคการศึกษาใหม่นี้

นอกจากนั้น เรายังร่วมมือกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ และมูลนิธิเกียรติร่วมมิตรเพื่อการศึกษา จัดอบรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นประยุกต์และพื้นฐานการโค้ดดิ้งให้กับตัวแทนอาจารย์และนักเรียนกว่า 120 คน จากกรุงเทพฯ และสระแก้ว

การอบรมครั้งนี้มุ่งมั่นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนและชุมชนสู่เศรษฐกิจไทยยุคดิจิทัล ซึ่งตัวแทนทั้งหมดจะนำความรู้และทักษะเชิงดิจิทัลที่ได้เรียนรู้ไปเผยแพร่ให้กับเยาวชนตั้งเป้าจำนวน 1,600 คน

เตรียมพร้อมเยาวชนไทยด้วยทักษะดิจิทัล

การให้การศึกษาและฝึกอบรมเยาวชนไทยให้สามารถประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหน้าที่การงานในอนาคตที่เด็กยุคปัจจุบันต้องเผชิญนั้นแตกต่างจากเด็กรุ่นก่อนหน้านี้ ทักษะด้านดิจิทัล สะเต็มศึกษา และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นมากสำหรับอาชีพในปัจจุบันและอนาคต ในปี 2560 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้เข้าถึงเยาวชน 40,000 คน เพื่อมอบทักษะด้านดิจิทัลผ่านหลากหลายโครงการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเยาวชนชาวไทยทุกคนจะมีทักษะดิจิทัลพร้อมสู่การทำงานในอนาคต

เมื่อเดือนธันวาคม 2560 ไมโครซอฟท์ ได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น จัดกิจกรรม #HourOfCode2017 เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผ่านการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐาน โดยภายในงานเต็มไปด้วยกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีเยาวชนอายุระหว่าง 8-16 ปี จำนวน 146 คน จากหลากหลายภูมิภาค รวมทั้งคุณครู ผู้ฝึกอบรมในโรงเรียน และผู้พิการจากองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ ที่มีความสนใจเรียนรู้ทักษะการเขียนโค้ดเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งรับฟังประสบการณ์และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากผู้ที่ประกอบอาชีพในวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

หลายคนที่ว่าการเขียนโค้ดนั้น “ยากและน่าเบื่อ” กิจกรรมของไมโครซอฟท์จึงจัดขึ้นเพื่อทำลายกรอบความคิดของเด็กๆ และทำให้เยาวชนเห็นว่าการเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์นั้นน่าสนใจและเพลิดเพลิน ไมโครซอฟท์จึงได้เชิญนักพากย์เกมชื่อดัง มาร่วมสร้างสีสันและแรงบันดาลใจ ด้วยการพากย์เกมสด Minecraft เอดิชั่นใหม่ล่าสุด ‘Hero’s Journey’ ทำให้การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เต็มไปด้วยความสนุกสนานและมีความคิดสร้างสรรค์

มีเยาวชนกว่า 85 ล้านคนทั่วโลก ได้ฝึกเขียนโค้ดและเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ด้วย Minecraft” Hour of Code

กิจกรรม Future Ready #HourOfCode2017 เป็นหนึ่งในหลากหลายโครงการของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักของบริษัทฯ ในการนำประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมคนรุ่นใหม่ก้าวสู่ยุคดิจิทัล โดยไมโครซอฟท์ยังจัดฝึกอบรมทักษะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ใน 34 โรงเรียน และนักเรียนกว่า 4,120 คนได้รับการฝึกอบรมผ่านโปรแกรม Skype เพื่อจุดประกายเยาวชนให้หันมาสนใจเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ไมโครซอฟท์เชื่อว่าเยาวชนคือกลุ่มคนเบื้องหลังที่สำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความเจริญก้าวหน้า

การแข่งขันไมโครซอฟท์ อิมเมจิ้นคัพ ได้ทำให้ความเชื่อนั้นกลายเป็นจริง ด้วยการช่วยสร้างโอกาสให้เยาวชนสายเทคโนโลยีได้นำเสนอไอเดียนวัตกรรมนำเสนอกับผู้เชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยี พร้อมทั้งนำเทคนิคที่จำเป็นมาปรับใช้ และทักษะเพื่อเตรียมความส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ ที่จะช่วยพัฒนาสิ่งที่เขาสร้างสรรค์มาสู่การทำธุรกิจในชีวิตจริง

ประเทศไทยได้สร้างสถิติที่น่าภาคภูมิใจ ด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน อิมเมจิ้น คัพ ระดับโลก จากซีแอทเทิลมาแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ปี 2550 และ ปี 2553 ในประเภทการออกแบบซอฟต์แวร์ ปี 2555 และปี 2559 ในประเภทเกม การแข่งขัน อิมเมจิ้น คัพ 2018 ครบรอบ 16 ปีในประเทศไทยในปี 2561 นี้ ทีม BeeConnex จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คือผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ และได้ร่วมการแข่งขัน อิมเมจิ้น คัพ เอเชีย แปซิฟิก เพื่อลุ้นชิงตำแหน่งตัวแทนของภูมิภาค

นายบุญฤทธิ์ บุญมาเรือง สมาชิกนักศึกษาจากทีม BeeConnex กล่าวว่า “ผึ้งเป็นแมลงสำคัญในระบบนิเวศน์ ซึ่งมีการวิจัยว่าถ้าไม่มีผึ้งระบบนิเวศน์อาจจะถูกทำลายทันที ด้วยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่เราติดตั้งไว้เราพบว่าผึ้งจะมีการส่งสัญญาณต่างๆ ออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันได้หลากหลายรูปแบบนับไม่ถ้วน หรือเรียกว่า ‘Bee Dance’ โดยอุปกรณ์เซ็นเซอร์นี้จะส่งข้อมูลไปยัง cloud computing ที่ทำงานอยู่บน Microsoft Azure ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์และทำนายเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีได้ โดยจะส่งสัญญาณทันทีที่พบว่าผึ้งมีอาการผิดปกติ”

โดยทีม BeeConnex ได้คว้ารางวัลรองอันดับหนึ่งจากเวที การแข่งขัน อิมเมจิ้น คัพ เอเชีย แปซิฟิก ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และจะเป็นตัวแทนประเทศไทยพร้อมทีมนักเรียนที่ได้เข้ารอบทั้งหมด เพื่อก้าวสู่เส้นทางแห่งการแข่งขันด้านนวัตกรรมระดับโลกที่เวทีอิมเมจิ้น คัพ รอบชิงชนะเลิศระดับโลก ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองซีแอทเทิล ในเดือนกรกฎาคม ที่จะมีทีมนักเรียนมากถึง 50 ทีมทั่วโลกมาเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อชิงรางวัลชนะเลิศพร้อมเงินสด 100,000 เหรียญสหรัฐฯ และยังได้มีโอกาสรับฟังคำแนะนำโดยตรงจาก มร.สัตยา นาเดลลา ซึ่งเป็นซีอีโอคนปัจจุบันของไมโครซอฟท์ และได้รับเครดิตการใช้งาน Microsoft Azure ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์อัจฉริยะเพื่อต่อยอดการพัฒนาโซลูชั่นของทีมผู้ชนะเลิศออกสู่ตลาดจริง สามารถรับชมวีดีโอผลงานของทีม BeeConnex ได้ที่นี่

ลดช่องว่างระหว่างเพศกับสะเต็มศึกษา

ในปัจจุบัน จำนวนผู้หญิงที่ศึกษาและประกอบอาชีพในสาขาสะเต็มศึกษายังมีจำนวนไม่มากนัก ทั้งที่เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เพราะผู้หญิงจำนวนมากยังติดอยู่กับภาพเดิมๆ ในหลายมุมมอง ทั้งการมีอคติ วัฒนธรรมทางสังคม และความคาดหวังต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เขาเรียน

มีเพียง 23% ของจำนวนนักวิจัยทั้งหมดในเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกที่เป็นผู้หญิง[1] และเพียง 35% ของนักเรียนผู้หญิงที่ศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา[2]

ความแตกต่างทางเพศในสะเต็มศึกษาและในแวดวงอุตสาหกรรมไอที นับเป็นอุปสรรคสำหรับที่ขัดขวางอนาคตด้านดิจิทัล ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่รวมถึงทั้งโลกด้วย

ไมโครซอฟท์ได้สนับสนุนส่งเสริมทักษะของเด็กผู้หญิงมาอย่างต่อเนื่องและช่วยผลักดันให้เด็กผู้หญิงสนใจการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา และอีกครั้งในปี 2560 ไมโครซอฟท์จึงได้จัดกิจกรรม ดิจิเกิร์ลซ์ โครงการระดับโลกที่แสดงให้เด็กผู้หญิงไทยเห็นคุณค่าของสะเต็มศึกษา

และในปีนี้ เราได้รวมกิจกรรมหลายกิจกรรมเข้าด้วยกัน และเปิดตัวกิจกรรมดิจิเกิร์ลซ์พร้อมแคมเปญระดับโลก #MakeWhatsNext โครงการของไมโครซอฟท์ที่มุ่งมั่นจะที่สนับสนุนเด็กผู้หญิงในการประกอบอาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็มศึกษา

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราจัด 2 กิจกรรมสำหรับบุคคลทั่วไป และมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 104 คน ร่วมสนับสนุนพลังของเด็กผู้หญิงในสาขาสะเต็มศึกษา

โดยกิจกรรม ดิจิเกิร์ลซ์ 2018 เป็นงานครึ่งวันที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจถึงสองช่วง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำปรึกษานักเรียนผู้หญิงในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายเกี่ยวกับประโยชน์ของการเรียนด้านสะเต็มศึกษาและสนับสนุนให้เข้าร่วมเวิร์คช็อปภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาด้วย

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้วิชาสะเต็มศึกษาขาดความสมดุลทางเพศเพราะขาดบุคลากรตัวอย่างที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กผู้หญิง รวมถึงขาดการสร้างความมั่นใจให้เด็กผู้หญิงตระหนักถึงความสามารถที่เขามีในการก้าวสู่การทำงานในสายงานนี้

ในภูมิภาคนี้มีผู้หญิงอายุระหว่าง 12-19 ปีเพียงจำนวน 1 ใน 4 คนเท่านั้น[1] ที่รู้จักบุคคลที่มีชื่อเสียงในสาขาวิชาสะเต็มศึกษา

ในปีนี้ เด็กผู้หญิงผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสรับฟังเรื่องราวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากผู้บริหารหญิงที่มีชื่อเสียงจากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย อาทิ ผู้บริหารฝ่ายไอที จากจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Ooca

นางสาวชนัญชิดา แขเพ็ญ นักเรียนผู้เข้าร่วมแคมเปญ #MakeWhatsNext – ดิจิเกิร์ลซ์ กล่าวว่า ”ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจโค้ดดิ้งมาก่อน แต่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมงาน #MakeWhatsNext – DigiGirlz  ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้ ผิดก็ไม่เป็นไร แก้ไขได้ ตอนแรกคิดว่ายาก แต่กิจกรรมวันนี้ทำให้การเขียนโค้ดเข้าใจง่าย ทำให้เปิดใจยอมรับการเขียนโค้ดมากขึ้น”

นอกจากนั้น เรายังร่วมมือกับยูเนสโกและสถาบันสถิติแห่งยูเนสโก จัดกิจกรรมการแข่งขัน แฮ็คกาธอนเพื่อเปิดโลกสันติวัฒนธรรม ด้วยข้อมูลจากบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ร่วมรากอุษาคเนย์ (Shared Histories of South-East Asia) เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรทุกคนจึงจะเข้าถึงสันติวัฒนธรรม และเข้าใจว่าประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อปรองดอง ไม่ใช่เพื่อแตกแยก” โดยกิจกรรมดังกล่าวเปิดโอกาสให้แต่ละทีมมีสมาชิกนักพัฒนาแอปบนโทรศัพท์และเว็บไซต์เป็นผู้หญิง 70% และผู้ชาย 30% ซึ่งล้วนต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างผ่านเทคโนโลยี ความสงบสุข และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

โดย 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย แต่ละทีมจะได้รับเงินจำนวน 20,000 บาท เพื่อพัฒนาแอปให้สมบูรณ์ เพื่อนำเสนอในการแข่งขันรอบสุดท้ายในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ ผู้ชนะการแข่งขันแฮ็คกาธอนในครั้งนี้จะได้รับรางวัล ถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโอกาสในการแสดงผลงานของพวกเขา ณ ยูเนสโก ซิมโพเซียม ในหัวข้อประวัติศาสตร์ร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการสนทนาข้ามวัฒนธรรมและเพื่อวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขในเดือนตุลาคม 2561

ไมโครซอฟท์ยังเชื่อว่าการมุ่งสร้างความสำเร็จตามพันธกิจขององค์กรและการสนับสนุนทุกคนและทุกองค์กรในโลกนี้ให้บรรลุความสำเร็จได้ดียิ่งกว่าเราจะต้องเริ่มจากการมอบสิ่งที่ดียิ่งกว่าเดิม นั่นคือเหตุผลที่ในปีนี้ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ตัดสินใจที่ยกย่องพนักงานหญิงผู้มีพรสวรรค์และความสามารถ ผู้ซึ่งมีความทุ่มเทในการทำงานและเป็นแรงบันดาลให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

โดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนพื้นที่ห้องประชุมห้องหนึ่งของเราให้กลายเป็นสตูดิโอถ่ายภาพ โดยการเชิญชวนให้ผู้หญิงได้มาเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาทั้งนักบุกเบิก ฮีโร่ และต้นแบบที่จะช่วยสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงไทยยุคต่อไปในอนาคตได้

การลงทุนเพื่อชุมชน

ความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์กว่า 20 ปีที่ผ่านมาที่สนับสนุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วม เราได้เรียนรู้ว่าความหลากหลายนั้นไม่มีที่สิ้นสุด แต่มันคือเส้นทางที่ต้องมุ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จะยังคงสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนว่าประชาชนชาวไทยทุกคนจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือในสภาวะใดก็ตาม ปีนี้เรากำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อวางแผนในการลงทุนเพื่อชุมชนที่มีมูลค่า 60 ล้านบาท

การฝึกอบรมที่ทันสมัยแบบองค์รวม

เมื่อปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และชมรมซีเอสอาร์คลับ เพื่อบริจาคคอมพิวเตอร์และลิขสิทธิ์​ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานผู้พิการที่ปฏิบัติงานที่เหล่ากาชาดจังหวัดใน 76 จังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ 240 แห่งทั่วประเทศ โดยความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วยการบริจาคคอมพิวเตอร์จำนวน 550 เครื่อง และซอฟต์แวร์ที่มีความจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 27 ล้านบาท ให้กับทางสภากาชาดไทย

ในปีนี้ เราได้ขยายขอบเขตการสนับสนุนองค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่มากกว่าการมอบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เพื่อช่วยพวกเขาในการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เพราะสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือการแบ่งปันความรู้และทักษะที่ได้รับไปสู่ชุมชน

ในเดือนมีนาคม 2561 เรายังคงสนับสนุนโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการฝึกอบรมเทคนิคและการใช้งาน Microsoft Office 365 รวมทั้งแนะนำการใช้งาน Microsoft Accessibility ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนการทำงานของผู้พิการ ให้กับตัวแทนบุคลากรผู้พิการจากเหล่ากาชาดและกิ่งกาชาดทั่วประเทศกว่า 100 คน เพื่อยกระดับการทำงานของบุคลากรผู้พิการในสำนักงานของเหล่ากาชาดในท้องถิ่นรวม 848 คน ให้สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามภารกิจของเหล่ากาชาดในการช่วยเหลือสังคมได้ดียิ่งขึ้น

การพัฒนาแอปพลิเคชันเชิงธุรกิจ

ในฐานะที่เราเป็นองค์กรแถวหน้าที่ในการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล จึงเป็นหน้าที่ของเราในการนำเทคโนโลยี เข้ามาให้ผู้คน องค์กรและภาครัฐได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ในการช่วยสร้างโซลูชันเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้ประเทศและประชาชนของเรา เพื่อลดช่องว่างที่ไม่เท่าเทียม

ในปี 2560 ไมโครซอฟท์ร่วมกับ NEEDeed องค์กรที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้องค์กรไม่แสวงหากำไร โดยNEEDeed ได้ติดตั้ง Microsoft Dynamic 365 ให้กับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม องค์กรไม่แสวงหากำไรในการสร้างงาน สร้างอาชีพเพื่อผู้พิการ ซึ่งก่อนหน้านี้ มูลนิธิฯ ได้ใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบกระดาษ หลังจากได้ใช้งาน Microsoft Dynamic 365 ทางมูลนิธิฯ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมจากข้อมูลกลางที่มีศูนย์รวมอยู่ในระบบคลาวด์ และช่วยลดทอนกระบวนการเชื่อมต่อระหว่างผู้พิการและบริษัทต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกขึ้นและสามารถอัปเดตได้แบบเรียลไทม์ ก่อนหน้านี้ มูลนิธิฯ เคยจัดการได้เพียงแค่ไม่กี่ร้อยเคสต่อปี แต่หลังจากเปลี่ยนมาใช้ Microsoft Dynamic 365 ทางมูลนิธิฯ สามารถจัดการได้ถึง 3,000 เคสในปี 2560 และคาดหวังที่จัดการให้ถึง 10,000 เคสในปี 2561

“ผมขอบคุณผู้จ้างงานบริษัทไมเนอร์ กรุ๊ป ที่ทำให้ผมลืมความพิการของตัวเอง เพราะแรงสนับสนุนและแรงผลักดัน ทำให้ผมกล้าที่จะออกจากบ้าน มาใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไป” นายมงคล พูลสุข พนักงานธุรการบริษัทไมเนอร์ กรุ๊ป ที่ได้รับการจากงานผ่านระบบของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าว ดูเรื่องราวผ่านวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่นี่

การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบ

ไมโครซอฟท์เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง เริ่มต้นจากความพยายามร่วมกัน ความไม่ย้อท้อ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเรารู้สึกเป็นเกียรติที่มีพันธมิตรที่มากความสามารถและมีความยืดหยุ่น ในการนำเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์เข้าไปใช้เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม

เป็นกำลังสำคัญให้องค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคม

ในปี 2560 ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้มอบไมโครซอฟท์ อาซัวร์ ให้กับมูลนิธิสายใยแผ่นดินเพื่อโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า โดยการจับมือกับบริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัดที่พัฒนาแอปพลิเคชัน Internal Control System บนเทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งช่วยให้พนักงานประหยัดระยะเวลาและขั้นตอนในการตรวจรับรองมาตรฐานอินทรีย์ของกระบวนการและผลผลิตกาแฟด้วยการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลผ่านคลาวด์ได้รวดเร็วขึ้นจากการใช้เวลา 4 เดือนเหลือเพียง 1 เดือนลดลงกว่า 75% เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบการตรวจสอบสวนกาแฟ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการทำงานของพนักงานมูลนิธิเพิ่มขึ้น

มูลนิธิสายใยแผ่นดินได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช และเกษตรกร 350 ครอบครัว ใน 9 หมู่บ้าน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่ากว่า 20,000 ไร่ ใน 3 ป่าต้นน้ำของอุทยานขุนแจและลำน้ำกก การร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องนี้ ช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่หัวหน้าชุมชนและเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เพื่อทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

ในปีนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ได้เป็นโซลูชันสำคัญให้กับทีมนักพัฒนาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากแข่งขันแฮ็คกาธอนเพื่อการบรรเทาเหตุการณ์ฉุกเฉินจากภัยพิบัติ (The Emergency Disaster Mitigation Hackathon) ที่จัดขึ้นโดยสถาบันเชนจ์ฟิวชั่นและมูลนิธิเอเชีย ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจจับภัยพิบัติ “วารี” ที่พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ในแอปพลิเคชันบนมือถือและ www.varee.info

แอปพลิเคชัน “วารี” ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้คนไทยเวลาน้ำท่วม ด้วยการใช้ Microsoft Azure เข้ามาช่วยอัพเดทระดับน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งช่วยแนะนำเส้นทางที่ดีที่สุดในการเดินทาง

ด้วยความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แอปพลิเคชันนี้จะช่วยรวบรวมข้อมูลในทวิตเตอร์ที่รายงานเรื่องน้ำท่วม และมีแชทบ็อทที่จะเป็นผู้ช่วยให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ได้ด้วย

เราคาดการณ์ว่า “วารี” จะสร้างประโยชน์ให้ผู้ใช้งานมากกว่าหนึ่งล้านคนภายใน 2 ปี 

เป็นกำลังสำคัญให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์

ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนกับกลุ่มสตาร์ทอัพและนักวิจัยมาโดยตลอด เพื่อกระตุ้นการแข่งขันของผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ปีนี้ เราได้ร่วมกับดิจิทัล เวนเจอร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 7 แห่งของไทย เปิดโครงการระดับชาติ U.REKA  ซึ่งโครงการใหม่นี้มุ่งเน้นให้กลุ่มอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจเทคโนโลยีชั้นสูง รวมกลุ่มกันเป็นสตาร์ทอัพนำเสนอไอเดียจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ Artificial Intelligence (AI) / Blockchain / Clouds & Security / Big Data & Internet of Things / VR & AR และ Quantum Computing ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายตลอดระยะเวลาโครงการเพื่อสร้างสรรค์ไอเดียให้เป็นจริง โดยไมโครซอฟท์จะสนับสนุนด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโยลีคลาวด์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อให้คำแนะนำกับสตาร์ทอัพที่ร่วมโครงการอย่างใกล้ชิด ซึ่งไมโครซอฟท์มีความตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เห็นพลังสร้างสรรค์จากมันสมองของสตาร์ทอัพและนักวิจัยไทยภายใต้ความร่วมมือนี้


ความสำเร็จของทุกคนจะไม่มีขอบเขตอีกต่อไป เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเติมเต็มและสะท้อนความแตกต่างให้กับทุกคน ไม่ควรมีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะเทคโนโลยีหมุนไปอย่างรวดเร็ว ไมโครซอฟท์เชื่อว่าไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่าเทคโนโลยี และจะยังคงสานต่อในการนำเทคโซลูชันเข้ามาขับเคลื่อนความเติบโต และสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้ประเทศไทยและทั่วทุกมุมโลก

[1] UNESCO Institute for Statistics, Women in Science

[2] UNESCO, Cracking the code: Girls and women’s education in science, technology, engineering and mathematics (STEM)