ไมโครซอฟท์และ สพฐ. ประกาศสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หนึ่งในโครงการเสริมศักยภาพเยาวชนไทยในยุค AI

 |   Thornthawat Thongnab

Thai Prime Minister in front of large screen talking to student

ริเริ่มโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างองค์ความรู้บนโลกดิจิทัลให้เยาวชนไทย ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติปี 2562

กรุงเทพฯ8 มกราคม 2562 – บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งเป็นกำลังสำคัญให้เยาวชนและคนไทยทุกคนพัฒนาองค์ความรู้ดิจิทัล ประกาศสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Library) ครั้งแรกในประเทศไทยกับการพัฒนาระบบห้องสมุดออนไลน์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ ตอกย้ำพันธกิจสำคัญมุ่งสร้างความร่วมมือเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างคนไทยคุณภาพด้วยทักษะด้านดิจิทัล ตั้งเป้าส่งเสริมเยาวชนทุกคนให้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ ตั้งแต่การมอบพื้นฐานองค์ความรู้ การเรียนเขียนโค้ดสำหรับเยาวชนและครูทั่วประเทศ ไปจนถึงการเขียนซอฟต์แวร์เพื่อต่อยอดไปสู่การเป็นนวตกรในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้สำเร็จ

ทั้งนี้โครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ คือ โครงการที่รวบรวมคลังหนังสือเข้ามาไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์บนเว็บไซต์ www.nel.go.th ด้วยความตั้งใจในการพัฒนาคลังองค์ความรู้ดิจิทัลและบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่ออำนวยความสะดวกทุกคนในการเข้าใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่อีบุ๊ค อีแมกกาซีน วีดีโอคลิป เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ ฐานข้อมูลออนไลน์ ที่สามารถค้นหาผ่านระบบสืบค้น ISBN ที่ได้มาตรฐานของสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ พร้อมทั้งมีแผนงานที่จะขยายสู่รูปแบบแอปพลิเคชันภายใน 3 เดือนข้างหน้า เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาเพื่อทุกคน โดยตั้งเป้าเริ่มต้นจากกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของประเทศชาติ

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย สนับสนุนโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Library) 3 ฟีเจอร์หลัก ได้แก่

  1. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วางระบบ พัฒนาแอปพลิเคชัน และดูแลระบบการทำงานหลังบ้านทั้งหมด ที่รวมถึงการประมวลผลสรุปรายงานการใช้งาน
  2. แชทบ็อท – ระบบการค้นหาหนังสือด้วย AI เพียงใส่ชื่อหนังสือ พร้อมทั้งถามตอบในเรื่องที่ต้องการ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาค้นหาหนังสือในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
  3. ระบบการเรียนออนไลน์ (E-Learning) การแนะนำหลักสูตรการเรียนที่น่าสนใจ สร้างบทเรียน จัดตารางการเรียน การอบรมแบบวิดีโอออนไลน์ เพื่อช่วยให้เยาวชนสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมศักยภาพการเรียนรู้ผ่านโลกดิจิทัล

นายปวิช ใจชื่น ผู้อำนวยการฝ่ายภาครัฐและการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์เห็นความสำคัญของการศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล เราจึงทำงานร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยความเชื่อว่าแพลตฟอร์มที่ทันสมัยจะช่วยส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทยได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ประเทศไทยก้าวข้ามขีดจำกัดในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้สำเร็จ และเราจะยังคงสานต่อความมุ่งมั่นเพื่อช่วยต่อยอดในการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อไป โดยเฉพาะในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นนี้”

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมการจัดหางานเผยว่า[1] ช่วงอายุที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 20-24 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ว่างงานคือแรงงานกลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา สะท้อนให้เห็นว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติตามที่ตลาดแรงงานต้องการ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าเยาวชนไทยจะมีทักษะที่พร้อมเสริมประสิทธิภาพในการทำงานยุคดิจิทัลได้ นอกจากโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรไม่แสวงผลกำไรในการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนไทยด้วยการฝึกอบรมให้มีทักษะด้านดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่ทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ซึ่งช่วยเสริมสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ดังต่อไปนี้

Girl using laptop and smiling at cameraกิจกรรม Hour of Code เป็นหนึ่งในหลากหลายโครงการของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักของบริษัทฯ ในการนำประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุค ประเทศไทย 4.0อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมทักษะและความรู้ด้านดิจิทัล เป็นแคมเปญที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้นทุกปี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายเยาวชนให้หันมาสนใจเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และเตรียมตัวให้พร้อมกับโลกยุคดิจิทัล สำหรับประเทศไทย กิจกรรม Hour of Code Thailand เมื่อเดือนธันวาคม 2561 นับเป็นการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 5,000 คน ทั้งนักเรียน คุณครู ผู้ฝึกอบรมในโรงเรียน และผู้พิการจากองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ ที่มีความสนใจเรียนรู้ทักษะการเขียนโค้ด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาบุคลากรคุณภาพอันแข็งแกร่งของประเทศในอนาคต

 

Male student showing custom-made IoT setup with wrist-worn deviceการแข่งขัน “Smart Living with Micro:bit” ภายใต้แนวคิด Smart Living ด้วยความร่วมมือกับบริษัท สิริ เวนเจอร์ส เป็นโครงการที่เปิดรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายไปจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับอาชีวศึกษา ให้เข้ามาสร้างสรรค์แนวคิดที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนาโครงการด้วยการเขียนโค้ดสำหรับอุปกรณ์แผงวงจร micro:bit เพื่อสนับสนุนเยาวชนไทยหันมาสนใจเรียนรู้และประกอบอาชีพในสาขาวิชาสะเต็มศึกษามากขึ้น และเตรียมพร้อมสู่ความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นโครงการที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาให้เยาวชนปรับใช้ MakeCode: Micro:bit มาต่อยอดเขียนโค้ดของตนเองได้

Team of students in front of Microsoft sign holding prize banner as Imagine Cup Thailand winnersการแข่งขัน ไมโครซอฟท์ อิมเมจิ้นคัพ เป็นโครงการทีเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาในประเทศไทย ได้คิดค้นโซลูชั่นประเภทคลาวด์เพื่อใช้ในการเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดียิ่งขึ้น สนับสนุนผู้เข้าแข่งขันด้วยการเพิ่มโอกาสในการเสริมสร้างทักษะด้านการพัฒนาคลาวด์ให้กับนักเรียนและนักศึกษา และให้ผู้เข้าแข่งขันนำเสนอแนวคิดสร้างสรรค์และโครงงาน เพื่อลุ้นโอกาสในการชนะรางวัลเงินสด เครดิต Azure และยังได้รับคำแนะนำที่ช่วยยกระดับแนวคิดของพวกเขาไปอีกขั้นด้วย สำหรับประเทศไทย ได้จัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 16 แล้ว และล่าสุดทีม BeeConnex จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศได้เข้ารับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา

โครงการ Thailand Innovative Teacher เวทีนำเสนอผลงานวิชาการที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสอนสำหรับคุณครูไทย ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา โดยในปี 2562 นี้ นับเป็นการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 15 มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ครูไทยนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน พร้อมทั้งพัฒนาผลงานของตัวเอง เพื่อให้มีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทยมากยิ่งขึ้น โดยไมโครซอฟท์เข้ามาสนับสนุนด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในแต่ละปีมีครูผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 500 คน โดยในปีนี้ผู้ชนะเลิศระดับประเทศจะได้มีโอกาสคัดเลือกเข้าร่วมการประชุมครูและผู้บริหารทางการศึกษาทั่วโลก “Microsoft Partners in Learning Global Forum” อีกด้วย

[1] เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ ตุลาคม 2561 https://mgronline.com/qol/detail/9610000107191