ไมโครซอฟท์ผนึกกำลัง สพฐ. มอบ Office 365 แก่นักเรียน 8 ล้านคนภายใต้ความร่วมมือเพื่อวางระบบคลาวด์เพื่อการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดของโลก

กรุงเทพฯ

21

พฤษภาคม
2557 – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อมอบสิทธิ์การใช้งานระบบคลาวด์เพื่อการทำงานและสื่อสาร Office 365 for Education ให้แก่นักเรียน 8 ล้านคนและบุคลากรครูอีก 400,000 คนทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังครอบคลุมถึงการสานต่อความสำเร็จของโครงการ Partners in Learning ไปจนถึงปี พ.ศ. 2562 และยังถือเป็นความร่วมมือในการวางระบบคลาวด์เพื่อการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ทั่วโลก

ไมโครซอฟท์ผนึกกำลัง สพฐ. มอบ Office 365 แก่นักเรียน 8 ล้านคน ภายใต้ความร่วมมือเพื่อวางระบบคลาวด์เพื่อการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดของโลก
ไมโครซอฟท์ผนึกกำลัง สพฐ. มอบ Office 365 แก่นักเรียน 8 ล้านคน ภายใต้ความร่วมมือเพื่อวางระบบคลาวด์เพื่อการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดของโลก

May 20, 2014

Downloads:
Web | Print

“สพฐ. และไมโครซอฟท์ได้ทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตของชาติมาแล้วกว่าสิบปีเต็ม ภายใต้โครงการ Partners in Learning” นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าว “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กำหนดให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการยกระดับคุณภาพการศึกษา เป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป และความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในครั้งนี้จะช่วยให้ครูและนักเรียนทั่วประเทศมีศักยภาพที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางการศึกษาของทุกคนได้เป็นอย่างดี”

“นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังถือเป็นการสนับสนุนการเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และยังช่วยยกระดับการพัฒนาทักษะสำคัญสำหรับโลกในศตวรรษที่ 21 อันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์ สมาร์ท ไทยแลนด์ 2020 ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยเทคโนโลยี” นายเอนกกล่าวเสริม

โครงการ Partners in Learning เป็นโครงการระดับโลกที่ริเริ่มขึ้นโดยไมโครซอฟท์ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา และเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วโลกได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ จวบจนปัจจุบัน โครงการดังกล่าวได้ทำการฝึกสอนบุคลากรครูแล้วกว่า 12 ล้านคนทั่วโลก ทั้งยังยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับนักเรียนถึง 200 ล้านคนใน 114 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยแล้ว โครงการ Partners in Learning ได้เสริมศักยภาพด้านการเรียนการสอนให้แก่ครูกว่า 164,000 คน และนักเรียนอีกกว่า 8 ล้านคน ครอบคลุมโรงเรียนถึง 39,000 แห่งทั่วประเทศ

นายฮาเรซ คูบจันดานิ กรรมการผู้จัดการของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวอีกว่า “ไมโครซอฟท์เชื่อเสมอมาว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ข้อตกลงความร่วมมือล่าสุดนี้ถือเป็นการเน้นย้ำความมุ่งมั่นของเราในการร่วมพัฒนาประเทศไทย โดยการยกระดับระบบการศึกษาในภาพรวมด้วยเทคโนโลยี โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ลงทุนด้านการศึกษาในประเทศไทยไปแล้วกว่า 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (156 ล้านบาท) ภายใต้วิสัยทัศน์ “We Make 70 Million Lives Better” โดยนอกเหนือจากการศึกษาภายในโรงเรียนแล้ว โครงการ Microsoft YouthSpark ยังมอบโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ช่วยให้พวกเขามีความพร้อมสำหรับชีวิตการทำงานในอนาคต หรือการเปิดกิจการเป็นของตนเอง”

“ปัจจุบัน นักศึกษาและบุคลากรจากสถาบันในระดับอุดมศึกษากว่า 2 ล้านคนสามารถใช้ประโยชน์เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ ผ่านทางโซลูชั่น Office 365 for Education และความร่วมมือครั้งสำคัญกับ สพฐ. นี้จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้โซลูชั่นดังกล่าวในประเทศไทยเป็นกว่า 10 ล้านคน” นายฮาเรซเผย “ทั้งหมดนี้ทำให้สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สามารถสร้างศูนย์รวมข้อมูลทางการศึกษาที่ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา และผ่านอุปกรณ์ประเภทใดก็ได้อย่างปลอดภัย”

ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือนี้ โรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของ สพฐ. ทั่วประเทศจะเข้าใช้งาน Office 365 for Education ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อันจะเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนนับล้านคนได้ใช้โซลูชั่นคลาวด์คุณภาพระดับองค์กรนี้เพื่อการสร้างสรรค์และติดต่อประสานงานระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากความกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้ งานวิจัยของไมโครซอฟท์ที่จัดทำโดยไอดีซีในปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา เผยว่าทักษะการใช้งาน Microsoft Office ถือเป็นทักษะที่เป็นที่ต้องการสูงสุดอันดับ 3 ในสายตาของนายจ้างทั่วโลก จากทั้งหมด 20 อันดับ โดยที่ทักษะที่เกี่ยวข้องกับชุดโปรแกรม Office ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร จัดทำตารางสเปรดชีท หรือรายงานข้อมูลทางการเงิน ถือเป็นเกณฑ์พิจารณาสำคัญสำหรับการคัดเลือกบุคลากรในสายงานที่มีโอกาสการเติบโตและรายได้สูง


นอกจากนี้ นักเรียนและบุคลากรครูยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อีกมากมายในโครงการ Microsoft YouthSpark ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเพื่อการฝึกสอนที่ใช้งานได้ฟรีจาก Microsoft IT Academy กิจกรรมพัฒนาศักยภาพทางการศึกษามากมาย สิทธิ์การใช้งานเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์และคำแนะนำทางเทคนิคจากโครงการ Microsoft DreamSpark การสนับสนุนกิจการสตาร์ทอัพในโครงการ Microsoft BizSpark และโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันพัฒนาแอพพลิเคชันบนเวทีโลกในรายการ Microsoft Imagine Cup

“ปัจจุบัน คนในช่วงอายุ 15-24 ปีถือเป็นกลุ่มประชากรว่างงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้เอง การยกระดับคุณภาพของระบบการศึกษาในภาพรวมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง” แอนโธนี ซัลซิโต รองประธานด้านการศึกษา ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าว “ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์และ สพฐ. ในโอกาสนี้ ไม่เพียงเปิดโอกาสให้นักเรียนนับล้านคนได้เข้าถึงเทคโนโลยีล้ำยุคเพื่อการศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน แต่ยังเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ากับกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้พัฒนาทักษะที่เสริมความพร้อมสำหรับอนาคต”

ข้อตกลงในครั้งนี้ถือเป็นความร่วมมือในการวางระบบคลาวด์เพื่อการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของไมโครซอฟท์ทั่วโลก โดยก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ได้ร่วมวางระบบ Office 365 ให้กับกรมการศึกษาแห่งรัฐเซา เปาโล ประเทศบราซิล ครอบคลุมนักเรียน 4 ล้านคน สภาการศึกษาทางเทคนิค ประเทศอินเดีย (All India Council for Technical Education – AICTE) ครอบคลุมนักเรียน 7.5 ล้านคนจาก 11,500 สถาบัน และสำนักงานการศึกษาคาทอลิกนานาชาติ (Catholic International Education Office – OIEC) ครอบคลุมนักเรียน 4.5 ล้านคนทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2555

ทั้งนี้ ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์และ สพฐ. ครอบคลุมระยะเวลารวม 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2562

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Partners in Learning และโซลูชั่น Office 365 for Education ได้ที่ http://www.pil-network.com, http://www.pil.in.th/ และ http://office.microsoft.com/en-001/academic/

###


สอ


บถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่


อ (สำหรับสื่อมวลชน)


คุณธรธวัช ทองแนบ และ คุณวิชยากร จารุบัณฑิต

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 106, 105 หรือ 083-225-4567, 087-325-0410

อีเมล: [email protected] , [email protected]