ไมโครซอฟท์เผยผลสำรวจพนักงานไทย พบ 3 ปัจจัยหลักที่พนักงานต้องการมากที่สุดคือ เทคโนโลยีเพื่อการทำงานร่วมกัน การผสานกันระหว่างงานกับชีวิต และทักษะด้านดิจิทัล

 |   Thornthawat Thongnab

85% มองว่าตนเองเป็นพนักงานทำงานแบบเคลื่อนที่ แต่มีเพียง 63% ที่รู้สึกว่าองค์กรของพวกเขาพร้อมรองรับการทำงานแบบดิจิทัลโมบายล์อย่างเต็มรูปแบบ

ประเทศไทย, 15 พฤษภาคม 2560 – ไมโครซอฟต์เผยผลการสำรวจ “Microsoft Asia Workplace 2020”[1] พบว่า พนักงานออฟฟิศในประเทศไทยยังไม่รู้สึกว่าพวกเขาได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับสถานที่ทำงานแบบดิจิทัลเท่าที่ควร

ขณะที่ 85% ของผู้ร่วมทำแบบสำรวจมองว่า พวกเขาเป็นพนักงานแบบเคลื่อนที่ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 20% ทำงานอยู่นอกออฟฟิศ แต่

มีเพียง 63% ที่รู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากวัฒนธรรมองค์กร และผู้บริหาร ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากนี้ มีเพียง 46% ที่เห็นด้วยว่าผู้นำในองค์กรของตนมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรทุกคน

ผลการศึกษาดังกล่าว ซึ่งได้สำรวจความเห็นคนทำงานเกือบ 4,200 คน จาก 14 ประเทศในเอเชีย โดยในจำนวนนั้นเป็นพนักงานคนไทย 312 คน จัดทำขึ้นเพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไปของบุคลากร และช่องว่างที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ในส่วนของประสิทธิผลการทำงาน ความร่วมมือ และการทำงานอย่างยืดหยุ่น (การทำงานนอกที่ทำงาน)

 

“ขณะที่เอเชียกำลังเตรียมพร้อม ที่จะเป็นศูนย์กลางภูมิภาคที่มีการเชื่อมโยงถึงกันมากที่สุด ซึ่งพบว่าภายในปี 2021[2] การเชื่อมต่อเคลื่อนที่มากกว่าครึ่งจะมาจากภูมิภาคเอเชียแห่งนี้ องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องทบทวนว่า จะสนับสนุนบุคลากรของพวกเขาด้วยวัฒนธรรม นโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสมอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นหมายถึงการทำงานร่วมกันไม่ว่าจากที่ใด หรือบนอุปกรณ์ใด อย่างไรก็ตาม ผู้นำองค์กรธุรกิจจำเป็นที่จะต้องประเมิน และเปลี่ยนแปลง เพื่อรับมือกับความท้าทายทางวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานอย่างราบรื่นของพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโต และความก้าวหน้าขององค์กรในยุคดิจิทัลได้” นางสาวชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

 

 

 

บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปธุรกิจในยุคดิจิทัล

ผลการสำรวจก่อนหน้าในปี 2558 พบว่า พนักงานในประเทศไทย 47 คนจาก 100 คน รู้สีกพร้อมสำหรับโลกใหม่ของการทำงาน ซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องประกอบด้วย บุคลากร สถานที่ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเอื้ออำนวยให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความร่วมมือที่ดี และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆได้ ซึ่งผลสำรวจในปีนี้ พบตัวเลขที่สูงขึ้นเป็น 67 คนจาก 100 คนที่คิดเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า องค์กรต่างๆ มีความพร้อมมากขึ้น แม้ว่ายังมีอีกหลายสิ่งต้องทำ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

นอกเหนือไปจากปัจจัยด้านบุคลากร สถานที่ และเทคโนโลยีแล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย โดยการศึกษาการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลของไมโครซอฟต์ก่อนหน้านี้ในปี 2559[3] พบว่า การเสริมศักยภาพให้กับพนักงานถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลสำหรับผู้นำธุรกิจในประเทศไทย ขณะเดียวกัน การหาแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังเป็นอุปสรรคอันดับหนึ่งของการนำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จ

การเสริมศักยภาพให้กับพนักงาน หนึ่งในเสาหลักของการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ตอกย้ำให้องค์กรใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ไม่ว่าจะทำงานจากที่ใด ตลอดจนสามารถร่วมมือ และแชร์ความรู้ ด้วยระบบดิจิทัล

วิถีการทำงานรูปแบบใหม่ และปัญหาความขัดแย้งในองค์กร จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

เห็นได้ชัดว่า ในปัจจุบัน พนักงานที่ทำงานแบบเคลื่อนจะเปิดรับการทำงานที่ยืดหยุ่น องค์กรจึงควรพิจารณารูปแบบการทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะ เมื่อคนยุคดิจิทัล หรือคนที่เกิดหลังปี 2543 เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นครั้งแรก

79% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการผสมผสานการทำงานและชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกัน ขณะที่เส้นแบ่งระหว่างการทำงาน และชีวิตส่วนตัวเลือนราง แต่คนทำงานแบบเคลื่อนที่ก็สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้

ผลการสำรวจดังกล่าวยังพบว่า องค์กรจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างภายในสถานที่ทำงานหลายๆ ประการ เพื่อเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการมีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น

  • ผู้นำขององค์กรเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นในสถานที่ทำงาน: มีเพียง 46% ที่มองว่าผู้นำในองค์กรของตนมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากร
  • วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ: มีเพียง 46% เห็นด้วยว่า องค์กรของพวกเขาลงทุนพัฒนาด้านวัฒนธรรมองค์กรผ่านการฝึกอบรม และการพัฒนาจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  1. การเข้าถึงเทคโนโลยีแบบข้อมูลเป็นศูนย์กลาง (data-centric) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ และประสิทธิภาพการทำงาน: มีเพียง 44% รู้สึกว่าองค์กรฯ ของพวกเขาใช้เครื่องมือวิเคราะห์ และเก็บข้อมูล เพื่อช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ถูกต้อง และทันเวลา และมีเพียง 45% เห็นด้วยว่า องค์กรของพวกเขามีเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานของพวกเขาง่ายขึ้น

วิถีใหม่ของการทำงานเป็นทีมจำเป็นต้องมีวิธีการใหม่ๆ

การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานย่อมส่งผลให้เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในขณะที่เทคโนโลยีทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคล และทีมมากขึ้น ในทุกๆ พื้นที่ และกลุ่มคน อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจพบว่าในปัจจุบันยังมีช่องว่างที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นทีมร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ

ความท้าทาย 5 อันดับสูงสุดได้แก่

  1. นัดประชุมมากเกินไป (33%)
  2. คนในทีมไม่เปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่จะปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น (24%) และ ทีมงานใช้เวลาในการโต้ตอบ และสื่อสารมากเกินไป (24%)
  3. ใช้เวลามากเกินไปในการสอนพนักงานใหม่ (23%)
  4. สมาชิกในทีมไม่ปรับตัวให้เข้ากับตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นของทีม (22%)

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า การเข้าถึงเครื่องมือที่ทันสมัยในการทำงานร่วมกัน (49%) ความเป็นผู้นำองค์กรที่แข็งแกร่งและมีวิสัยทัศน์ (44%) ตลอดจนการบริหารจัดการที่เปิดกว้าง (40%) ล้วนช่วยเสริมสร้างทีมที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการทำงานร่วมกันใหม่ๆ จะช่วยสร้างเสริมประสิทธิภาพ

ผลการสำรวจนี้ยังพบว่า คนทำงานต้องการอุปกรณ์ที่ดีขึ้นเพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกเหนือจาก ความต้องการฮาร์ดแวร์ต่างๆ แล้ว 43% ของคนทำงานยังต้องการเข้าถึงเครื่องมือบนคลาวด์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และอีก 28% ต้องการที่จะสามารถทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ รวมทั้งระบบเครือข่ายสังคมภายในองค์กร

เมื่อถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีเด่นที่จะช่วยยกระดับที่ทำงาน ภายในปี 2020

  • 42% คิดถึง ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสนับสนุนการทำงานได้อย่างเป็นอิสระ
  • 42% อยากให้มีระบบเครือข่ายสังคมภายในองค์กร ที่รองรับการสื่อสารด้วยวิดีโอและเสียง
  • 40% ต้องการพื้นที่การทำงานเสมือนจริงที่รองรับการพูดคุย และแชร์เอกสารแบบเรียลไทม์

“เมื่อลักษณะการทำงานเปลี่ยนไป วิธีที่พนักงานให้ความร่วมมือ และทำงานร่วมกันก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้นำธุรกิจ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีที่ดีขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพให้แต่ละบุคคล พร้อมกับขจัดอุปสรรคต่อความร่วมมือในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะเมื่อผลการสำรวจบ่งชี้อย่างเด่นชัดว่า ช่องโหว่เหล่านั้นสามารถลดลงได้ด้วยเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจต่างๆ ที่จะต้องเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างผู้นำองค์กรฯ กับพนักาน โดยการให้ความสำคัญกับบุคคล และวัฒนธรรมมากขึ้น” นางสาวชุติมา สีบำรุงสาสน์ กล่าวปิดท้าย

Microsoft Teams ที่เปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นพื้นที่การทำงานรูปแบบใหม่ในรูปแบบแอปพลิเคชั่นแชทบน Office 365 ที่ให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้จากทุกที่ ทุกเวลา อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เป้าหมายหลักในการพัฒนา Microsoft Teams คือ

  • ประสบการณ์แชทแบบใหม่สำหรับการทำงานเป็นทีม ครบครันด้วยลูกเล่นล้ำสมัย แบ่งห้องสนทนาตามหัวเรื่องชัดเจน พร้อมเก็บบันทึกข้อมูลให้ไม่พลาดเนื้อหาสำคัญในทุกวินาที
  • ศูนย์กลางของทุกทีม รวบรวมทุกแอปพลิเคชัน Office ที่คุณคุ้นเคย ให้ทุกคนในทีมมีเครื่องมือและข้อมูลพร้อมทำงานเสมอ
  • ปรับแต่งได้ตามทุกความต้องการ ออกแบบพื้นที่ทำงานของทีมคุณได้ดั่งใจ ด้วยแท็บ คอนเนกเตอร์ และบอทมากมายจากพันธมิตรของเรา พร้อมเครื่องมือจากไมโครซอฟท์อย่าง Planner และ Visual Studio Team Services
  • ปลอดภัย ไว้ใจได้ Microsoft Teams พัฒนาต่อยอดขึ้นจากแพลตฟอร์มคลาวด์ระดับองค์กรอย่าง Office 365 จึงมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ได้มาตรฐานระดับโลกอย่างที่ลูกค้าต้องการ โดย Microsoft Teams ยังรองรับมาตรฐานระดับโลกอย่าง SOC1 และ SOC2 ข้อตกลงภายใต้เงื่อนไขของสหภาพยุโรป ISO 27001 และ HIPAA

ทั้งนี้ ลูกค้าทั่วโลกเลือกใช้ Microsoft Teams เพื่อให้เกิดความร่วมมือภายในองค์กร นับตั้งแต่มีการประกาศให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายนผ่านมา มีองค์กรมากกว่า 50,000 แห่งได้เริ่มใช้ Microsoft Teams แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Alaska Airlines, ConocoPhilips, Deloitte, Expedia, J.B. Hunt, J. Walter Thompson, Hendrick Motorsports, Sage, Trek Bicycle และ Three UK. สำหรับลูกค้าในเอเชียที่นำ Microsoft Teams มาใช้ในสถานที่ทำงานแล้ว ได้แก่ Blackmores, Graincorp, Objective Corporation, Readify และ RSL Queensland

องค์กรที่สนใจพื้นที่การทำงานในรูปแบบการแชทสามารถทดลองใช้ Microsoft Teams ได้แล้ววันนี้ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Microsoft Teams กรุณาเยี่ยมชมได้ที่บล็อก

[1] ผลการสำรวจ Microsoft Asia Workplace 2020 จัดทำขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม ปี 2560 โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 4,175 คน จาก 14 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเชีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามคือ เป็นพนักงานประจำ ทำงานไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือพนักงานชั่วคราว ทำงานไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

[2]eMarketer, การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั่วโลกส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก https://www.emarketer.com/Article/Most-of-Worlds-Mobile-Connections-Asia-Pacific/1014256

[3] การสำรวจ Microsoft Asia Digital Transformation จัดทำขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2016 โดยมีผู้ร่วมทำแบบสำรวจจำนวน 1,494 คน จาก 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวันและไทย ทั้งนี้ ผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมดล้วนเป็นผู้มีบทบาทในการวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลในองค์กรที่มีพนักงานไม่ต่ำกว่า 250 คน