องค์กรไทยต้องลงทุนกับวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เพื่อประกันความสำเร็จในการปฎิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

 |   Thornthawat Thongnab

ผลสำรวจของไมโครซอฟท์พบว่าร้อยละ 54 ของคนทำงานไทย คาดหวังให้องค์กรลงทุนเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร ควบคู่ไปกับการยกระดับทักษะเชิงดิจิทัล

กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2560 – ผลสำรวจของไมโครซอฟท์เผยว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการทำงานของประเทศไทยส่งผลให้องค์กรต้องปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เพื่อบรรลุผลสำเร็จในการปฏิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล[1] โดยร้อยละ 54 รู้สึกว่าองค์กรของตนควรมีบทบาทมากขึ้นในด้านการพัฒนาวัฒนธรรม

ผลสำรวจพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมในการทำงานปัจจุบันคือ

  1. การทำงานนอกสถานที่และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น – การขยายตัวของการทำงานแบบโมบิลิตี้และการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีคลาวด์และโมบายล์ ส่งผลให้พนักงานสามารถทำงานจากหลายสถานที่บนอุปกรณ์หลายชนิดได้ โดยผลสำรวจพบว่ามีพนักงานเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่ใช้เวลาทำงานทั้งหมดอยู่ในออฟฟิศ ขณะที่กว่าร้อยละ 88 ทำงานบนสมาร์ทโฟนส่วนตัว ซึ่งถือเป็นความท้าทายขององค์กรด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  2. มิติของการทำงานที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น – ผลสำรวจพบว่าร้อยละ 43 ของคนทำงานในประเทศไทย ทำงานร่วมกับผู้อื่นมากกว่า 10 ทีมในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ความพร้อมของข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์และเครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันให้ทำงานสำเร็จลุล่วงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
  3. ช่องว่างที่เกิดจากการขาดทักษะด้านดิจิทัลของพนักงานที่เพียงพอ – ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่มากมายที่ถูกนำมาปรับใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กลับพบว่าไม่ได้มีการใช้งานจริงอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร โดยจากผลสำรวจ กว่าร้อยละ 54 ยังเชื่อว่าองค์กรควรมุ่งมั่นพัฒนาทักษะดิจิทัลของพนักงานให้มากกว่านี้

นางสาว ทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลควบคู่ไปกับการเริ่มทำงานของคนยุคใหม่อย่างกลุ่มมิลเลนเนียล ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความคาดหวัง องค์ความรู้ และทักษะของคนทำงานยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เนื่องจากครึ่งหนึ่งของประชากรกลุ่มมิลเลนเนียลทั่วโลกอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย องค์กรต่างๆ จึงต้องปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้น จากการนำเทคโนโลยีที่เกิดใหม่และล้ำหน้าเข้ามาใช้งาน องค์กรจึงจำเป็นต้องพิจารณาการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมให้กับพนักงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์และการวางกลยุทธ์ให้พวกเขาในอนาคต”

ความพร้อมของวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน สู่ความสำเร็จจากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

ถึงแม้ว่าร้อยละ 89 ของผู้นำภาคธุรกิจไทยจะเห็นว่าทุกองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลเพื่อผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่สุดท้ายแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ก็ยังคงมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

“คนคือหัวใจสำคัญของการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ความคาดหวัง องค์ความรู้และทักษะ รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความสำเร็จที่จะได้รับจากการปฏิรูปองค์กร ความท้าทายขององค์กรในปัจจุบันคือการนำวัฒนธรรมในการทำงานยุคใหม่เข้ามาใช้ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการเสริมศักยภาพคนทำงานในเอเชีย โดยเฉพาะพนักงานส่วนหน้าที่ต้องพบปะกับบุคคลภายนอกอยู่เสมอ ซึ่งมีจำนวนกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก และนับเป็นกลุ่มคนทำงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนี้” นางสาว ทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า กล่าวเสริม

ทุกวันนี้ พนักงานที่ทำงานส่วนหน้าเปรียบเสมือนด่านแรกในการเชื่อมต่อระหว่างบริษัทกับส่วนอื่นๆ ทั้งหมด ต้องติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเป็นลำดับแรก เป็นตัวแทนของแบรนด์ และยังได้สัมผัสผลิตภัณฑ์และบริการที่เกิดขึ้นจริง

และเพื่อเสริมศักยภาพของพนักงาน องค์กรจำเป็นต้องหาหนทางและยกระดับพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานส่วนหน้า โดยการมุ่งพัฒนาแนวคิดขององค์กรกับวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน

  1. ปลดปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ให้พนักงาน

การทำงานร่วมกันอาจก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ผ่านทางการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ระหว่างกัน ทั้งยังช่วยเสริมให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกันผ่านหลากหลายดีไวซ์ อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจยังพบว่าพนักงานถึงร้อยละ 64 ต้องเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ เพราะว่าเครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่สามารถใช้ได้จากในออฟฟิศเท่านั้น

  1. เสริมพลังการทำงานเป็นทีม

การจัดหาชุดเครื่องมือให้พนักงานทุกคนได้ใช้ทำงานร่วมกันอย่างทั่วถึง จะช่วยให้พนักงานในองค์กรสามารถเลือกวิธีการทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ได้ด้วยตนเอง จากผลสำรวจ ร้อยละ 49 พบว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการทำงานร่วมกันสามารถช่วยให้พวกเขาตอบสนองต่อคำขอจากเพื่อนร่วมงานและบุคคลภายนอกได้รวดเร็วขึ้น จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน

  1. เพิ่มความมั่นคงด้านความปลอดภัย

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจระบุว่าพวกเขาทำงานบนคอมพิวเตอร์ของบริษัท แต่ในขณะเดียวกัน กว่าร้อยละ 88 เลือกใช้สมาร์ทโฟนส่วนตัวในการทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กร นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 73 ยังเช็คอีเมลส่วนตัวจากอุปกรณ์ของบริษัทเพื่อความสะดวกสบายของตนเอง ดังนั้น ผู้นำธุรกิจจึงจำเป็นต้องเสริมสร้างระบบด้านความปลอดภัยขององค์กร เพื่อให้ข้อมูลลับขององค์กรไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงานด้วย

  1. ปรับระบบให้เรียบง่าย

ด้วยการเติบโตของแอพพลิเคชั่น ดีไวซ์ บริการและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยใจสถานที่ทำงาน งานบริหารจัดการระบบไอทีจึงทวีความซับซ้อนขึ้นจนต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เรียบง่ายลง เปิดโอกาสให้บริการต่างๆ ในองค์กรสามารถแบ่งปันและรวบรวมข้อมูลกันได้ ผลสำรวจจากผู้นำธุรกิจไอที ของไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิค[2] พบว่าร้อยละ 76 ของผู้บริหารด้านไอทีในประเทศไทย เห็นด้วยว่า การลดความซับซ้อนของการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านไอทีนั้นมีความจำเป็น

เทคโนโลยีคือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้คนทำงานส่วนหน้าประสบความสำเร็จในการปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

“เราเชื่อว่าพนักงานทุกคน ตั้งแต่คนทำงานหลังบ้านอย่างในโรงงาน คนทำงานหน้าบ้าน ไปจนถึงระดับผู้บริหาร ล้วนมีบทบาทในความสำเร็จขององค์กรด้วยกันทั้งสิ้น และเราเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับคนทำงานหน้าบ้านนั้นส่งเสริมการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล และสามารถสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลต่อคน องค์กร รวมถึงสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม” นายวิสสุต เมธีสุวกุล ผู้จัดการอาวุโสผลิตภัณฑ์ออฟฟิศ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “ไมโครซอฟท์เล็งเห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการช่วยเปิดโอกาสให้คนทำงานส่วนหน้าได้ทำงานกับเครื่องมือที่ถูกต้อง เช่น Microsoft 365 ยิ่งไปกว่านั้น การปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลจะสำเร็จได้เมื่อใช้เครื่องมือที่ถูกต้องตามเนื้องาน เพื่อยกระดับการทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ”

ไมโครซอฟท์ได้ประกาศขยายชุดโซลูชั่น Microsoft 365 ให้ตอบโจทย์ดังกล่าว โดยรวมถึงแพ็คเกจ Microsoft 365 F1 เพื่อพนักงานส่วนหน้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยพัฒนาวัฒนธรรมในการทำงานและสังคมของพนักงานส่วนหน้า รวมถึงอบรมและเสริมทักษะให้พนักงาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพิ่มความเชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์ ลดความเสี่ยงและต้นทุนธุรกิจ ความสามารถใหม่ในการค้นหาแบบอัจฉริยะ มิติใหม่แห่งการสื่อสารบน Microsoft Teams และการปรับปรุงระบบความปลอดภัยและการบริหารจัดการด้านไอทีที่ดีขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรทั้งปลอดภัยและปฎิบัติงานได้ตามมาตรฐาน

  • Microsoft 365 F1 ได้รวม Office 365, Windows 10 และ Enterprise Mobility + Security เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนพนักงานส่วนหน้ากว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงจุดแรกในการติดต่อสื่อสารระหว่างลูกค้ากับบริษัท หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ความสามารถของ Skype for Business Online บน Microsoft Teams มิติใหม่แห่งการติดต่อสื่อสารแบบอัจฉริยะ มาพร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทุกระดับ ทำให้ Teams เป็นศูนย์รวมการทำงานกลุ่มบน Office 365 ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งรวมการสนทนาด้วยเสียง ภาพ หรือแชทแบบต่อเนื่อง
  • การค้นหาแบบอัจฉริยะ ใช้ AI และแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อค้นหาผลข้อมูลที่ใกล้เคียงมากที่สุดบนทุกที่ในการค้นหาผ่าน Microsoft 365
  • Microsoft 365 พัฒนา Advanced Threat Protection (ATP) ขึ้นมาอีกระดับ ด้วยการปรับปรุงความสามารถในการป้องกันการล่อลวงทางอินเทอร์เน็ต (phishing) ขยายขีดความสามารถในการป้องกันของ SharePoint Online, OneDrive for Business และ Microsoft Teams รวมถึงความสามารถในการตรวจจับการคุกคามทางไซเบอร์ที่แยกได้ทั้งบนคลาวด์และบนเครื่อง

ปรับเปลี่ยนการทำงานของพนักงานส่วนหน้าให้ทันสมัยด้วย Microsoft Cloud

สำหรับองค์กรที่ยังใช้ Office 2007 ไมโครซอฟท์ขอแจ้งให้ทราบว่าการสนับสนุนซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ และเราขอแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้งาน Office 365 หรือ Microsoft 365 เพื่อรับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากไมโครซอฟท์

นายวิสสุต เมธีสุวกุล กล่าวเสริมอีกว่า “ปัจจุบัน เครื่องมือเสริมศักยภาพการทำงานบนคลาวด์มีบทบาทสำคัญในการเสริมศักยภาพให้คนทำงานยุคใหม่ทั่วเอเชียให้มีความคล่องตัวสูงขึ้น และสามารถทำงานร่วมกันข้ามทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราแนะนำให้ให้องค์กรพิจารณา Microsoft 365 เป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยเสริมศักยภาพคนทำงานให้ทันยุคดิจิทัลนี้”

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Microsoft 365 เพิ่มเติมได้ที่ https://www.microsoft.com/th-th/microsoft-365

[1] ผลสำรวจ Microsoft Asia Workplace 2020 จัดทำขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2017 โดยสำรวจจาก 4,175 คน จาก 14 ประเทศในเอเชีย แปซิฟิค คือ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และ เวียดนาม โดยผู้ทำแบบสอบถาม คือ ผู้ที่ทำงานประจำอย่างน้อย 30 ชั่วโมงหรือทำงานนอกเวลาอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมีผู้ทำแบบสอบถามจากประเทศไทย 312 คน

[2] ผลสำรวจ Microsoft Asia Pacific เป็นผลสำรวจกับผู้บริหารด้านไอที 1,200 คน จาก 12 ประเทศในเอเชีย แปซิฟิค คือ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ไต้หวันเกาหลี อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม โดยผู้ทำแบบสอบถามร้อยละ 40 ทำงานในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์จำนวน 250-499 เครื่อง และร้อยละ 59 ทำงานในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์จำนวน 500 เครื่องขึ้นไป